เขาว่ากันว่า “คนที่โชคดีที่สุด” ไม่ต้องดิ้นรนหาหรือสร้างใหม่ด้วยตัวเอง คือคนที่ครอบครัวปูทางสร้างธุรกิจไว้ให้สืบทอดต่อในอนาคต หรือที่เรียกว่า “ธุรกิจกงสี” แต่รู้หรือไม่ว่าเรื่องจริง ไม่ได้ราบรื่นสวยงามอย่างที่หลายคนคิด เพราะการสร้างขึ้นว่ายากแล้ว แต่การรักษาให้คงอยู่ต่อไปนั้นยากกว่ามาก ทำให้ทายาทหลายๆ คน มักรู้สึกกดดัน และกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีเหมือนดั่งที่รุ่นปู่ รุ่นพ่อสร้างไว้
.
ประกอบกับมีคำที่เราเคยได้ยินกันบ่อยว่า ธุรกิจกงสี คือธุรกิจที่ถูกสร้างและเริ่มประสบความสำเร็จในรุ่นแรก มั่นคงในรุ่นที่สอง และมักล้มเหลวในรุ่นที่สาม ซึ่งสอดคล้องกับสถิติ ของเครดิตสวิส ที่ว่า ผลประกอบการธุรกิจครอบครัวในรุ่นแรกและรุ่นที่สอง จะสามารถสร้างมูลค่ากิจการให้เติบโตประมาณปีละ 9% แต่เมื่อธุรกิจตกไปอยู่ในมือของทายาทรุ่นที่สาม ตัวเลขจะลดลงมาอยู่ที่ปีละ 6.5% จึงนับว่าเป็นโจทย์ยากสำหรับทายาทรุ่นที่สาม ที่ต้องรับไม้ต่อดูแลธุรกิจให้อยู่รอด เติบโต ไม่ล้มเหลว และสามารถส่งไม้ต่อให้กับทายาทในรุ่นต่อๆ ไปได้
.
❗️ หากถามว่า ธุรกิจกงสีส่วนใหญ่ ทำไมถึงก้าวต่อไปได้ไม่เกินรุ่นที่สาม ?
.
1. ขาดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างสมาชิกในครอบครัว
2. ขาดการวางแผนการสืบทอดกิจการ และการเลือกสมาชิกในครอบครัวขึ้นมาเป็นทายาทผู้สืบทอดคนต่อไป ทำให้เกิดการแก่งแย่งช่วงชิงผลประโยชน์
3. ขาดการวางแผนกลยุทธ์ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจและบริหารการเงิน
4. ขาดเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญและอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจในช่วงรอยต่อของการสืบทอดกิจการ เช่น พินัยกรรม ธรรมนูญครอบครัว สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น เป็นต้น
5. ไม่มีมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและการเติบโตให้ธุรกิจในทุกๆ ยุคสมัย
6. รุ่นที่สามเป็นรุ่นที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งจากกระแส Digital Disruption และระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจที่ยังคงมีโครงสร้างการบริหารแบบเดิมๆ ที่ยังไม่เอื้อต่อการธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
.
✅ แล้วรุ่นที่สาม รวมถึงรุ่นหลังๆ จะต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรับไม้ต่ออย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดและไม่ล้มในรุ่นตัวเอง
.
1.ไม่ทิ้งสิ่งเก่าที่ปู่สร้าง แต่นำมาพัฒนาต่อยอดสู่ “สิ่งใหม่” ที่ตอบโจทย์มากกว่าเดิม
แม้ธุรกิจที่มีอยู่นั้นจะดีอยู่แล้ว แต่เพราะการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา การจะขายแต่สิ่งเก่าๆ เดิมๆ อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับตลาดและผู้บริโภคทุกคนเสมอไป ดังนั้น จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อก้าวสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม เช่น นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในธุรกิจเพิ่มขึ้น, ปรับเปลี่ยนแพ็กเกจจิงของสินค้าให้ทันสมัย, พัฒนาสินค้าเดิมให้มีความหลากหลาย รวมถึงดึงคนรุ่นใหม่ไฟแรง ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมงานด้วย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรทิ้งสิ่งเดิมที่ดีอยู่แล้ว ทั้งสินค้า บริการ หรือกระทั่งพนักงานคนเก่าแก่ของบริษัทเพื่อรักษาสมดุลการทำงานและความสัมพันธ์ของคนในบริษัท
.
2.สร้างธรรมนูญครอบครัวที่ดี แลกเปลี่ยนสื่อสารข้อมูลระหว่างคนในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
ขึ้นชื่อว่า ”ธุรกิจกงสี หรือ ธุรกิจครอบครัว” สิ่งสำคัญ ไม่ควรลืมคือ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหาร ประธานบริษัท แต่ก็ไม่ควรนำตำแหน่งหน้าที่ อำนาจ มาใช้ในครอบครัวจนเกินไป แต่ควรสร้างธรรมนูญครอบครัวที่ดี วางรากฐานให้กับระบบธุรกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัว ตำแหน่งหน้าที่ ข้อตกลง รวมถึงควรสื่อสารกับคนในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความคิดเห็นที่เป็นในทิศทางเดียวกัน และไม่เกิดความขัดแย้งในภายหลัง
.
3.เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของคนเก่งมากประสบการณ์ มากความสามารถ เช่น คุณปู่ ผู้สร้างธุรกิจจนเติบโต
จะลองผิดลองถูกด้วยตัวเองอย่างเดียวไปทำไม เพราะสิ่งที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองและเข้าใจในเนื้องานมากขึ้น คือ การเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ตรงในด้านนั้นๆ รู้และเข้าใจมันเป็นอย่างดี พาตัวเองให้ไปอยู่ในที่ ๆ มีคนเก่ง ร่วมพูดคุย แชร์ไอเดียกับกูรู โดยต้องไม่มองแค่ความสำเร็จของเขาเท่านั้น แต่ต้องมองในมุมที่เขาเคยประสบปัญหา เคยล้มเหลว ว่าสาเหตุคืออะไร แล้วทำอย่างไรถึงสามารถแก้ปัญหาและก้าวเดินต่อมาได้
.
4.แยกเงินองค์กรออกจากเงินครอบครัว แบ่งสันปันส่วนความเป็นเจ้าของอย่างชัดเจนตามความเหมาะสม
หลายครั้งที่เราเห็นว่า ธุรกิจครอบครัว มักมีเรื่องของการแก่งแย่งชิงผลประโยชน์กัน นั่นเป็นเพราะ ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของความเป็นเจ้าของในด้านต่างๆ ของธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน ดังนั้น ควรแยกกระเป๋าเงินของธุรกิจออกจากกระเป๋าเงินของครอบครัว แยกบัญชีของบริษัท ที่ประกอบด้วยรายได้ ค่าใช้จ่าย หักลบกลบหนี้เหลือเท่าไหร่ ก็แบ่งสันปันส่วนให้แต่ละคนเป็นการส่วนตัว หรืออาจเป็นการให้ในรูปแบบของเงินเดือน ซึ่งก็มีทั้งในรูปแบบของคนที่ทำงานกับคนที่ถือหุ้น ครอบครัวจึงต้องมีการปรึกษาหารือเพื่อหาตรงกลางร่วมกันก่อน
.
5.วางแผนผังองค์กรให้ชัดเจน
ไม่ว่าธุรกิจครอบครัวจะขนาดใหญ่หรือเล็ก ควรวางแผนผังองค์กรให้ชัดเจน สมเหตุสมผล ว่าใครดำรงตำแหน่งอะไร ใครเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา มีหน้าที่ทำอะไร กำหนดกฎเกณฑ์ ข้อควรปฏิบัติ จะช่วยกำจัดความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนทายาท ผู้สืบทอด ไม่ว่ารุ่นไหน จากรุ่นสองสู่รุ่นสาม หรือรุ่นสามส่งต่อไปรุ่นสี่ ก็ควรพูดคุยร่วมกันทุกครั้ง
.
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย นับว่าเป็นประเทศที่มีการดำเนินธุรกิจครอบครัว ติดอันดับ 8 ของโลกและอันดับ 7 ของเอเชียแปซิฟิค ด้วยมูลค่ารวมถึง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.56 แสนล้านบาท รวมถึงตลาดผู้บริโภคที่มีศักยภาพด้วยจำนวนประชากรกว่า 65 ล้านคน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งของอาเซียน มีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ก็นับว่าธุรกิจกงสีในรุ่นที่สามยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
.
แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย เพราะสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการทำธุรกิจในรูปแบบกงสี คือ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ โดยเฉพาะนายใหญ่รุ่นหนึ่งผู้สร้างธุรกิจและสมาชิกในครอบครัว เพราะหากคนในครอบครัวเกิดความขัดแย้ง มีความเข้าใจไม่ตรงกัน ไม่สามัคคี ก็อาจส่งกระทบต่อความสั่นคลอนของทั้งธุรกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ จะทำเห็นว่าการเป็นทายาทธุรกิจแม้จะมาพร้อมกับความภาคภูมิใจ แต่ก็มาพร้อมกับภาระหน้าที่ และแรงกดดันที่แทบรับไม่ไหว
.
ดังนั้น หากรู้ตัวว่า ครอบครัวหรือตระกูลของคุณ มีธุรกิจแบบกงสี และอีกไม่นานคุณจะต้องรับไม้ต่อดูแลกิจการเป็นรุ่นที่สาม ควรเตรียมความพร้อม รีบวางแผนจัดการ ทำความรู้จักธุรกิจตัวเองให้ดี รวมถึงเรียนรู้งานจากรุ่นแรกและรุ่นที่สองให้มากๆ รับรองว่าธุรกิจของคุณจะประสบความสำเร็จ มั่นคง และเติบโต อย่าว่าแต่รุ่นที่สามเลย อาจจะดำเนินไปได้ไกลถึงรุ่นที่ 4, 5, 6,...
.
ที่มา : https://forbesthailand.com/commentaries/insights/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B0.html
https://techsauce.co/tech-and-biz/how-to-manage-family-business
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS #อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #ธุรกิจกงสี #กงสี #ธุรกิจครอบครัว #familybusiness #ทายาทรุ่นที่สาม #ทายาท #กิจการครอบครัว #Business
「ทายาทรุ่นที่สาม」的推薦目錄:
- 關於ทายาทรุ่นที่สาม 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
- 關於ทายาทรุ่นที่สาม 在 ลุงอ้วน กินกะเที่ยว Facebook 的精選貼文
- 關於ทายาทรุ่นที่สาม 在 ทำไมธุรกิจครอบครัวล่มสลายในทายาทรุ่นที่ 3 - YouTube 的評價
- 關於ทายาทรุ่นที่สาม 在 ทำไมธุรกิจครอบครัว ล่มสลายเมื่อถึงทายาทรุ่นที่ 3 - YouTube 的評價
- 關於ทายาทรุ่นที่สาม 在 Amway Thailand - ทายาทรุ่นที่ 3... 的評價
ทายาทรุ่นที่สาม 在 ลุงอ้วน กินกะเที่ยว Facebook 的精選貼文
เลี่ยว เลี่ยง เซ้ง
อาหารจีน 100 ปี 5 แผ่นดิน
ทายาทรุ่นที่สาม ดูแลกิจการอยู่
ต้องลอง บอกแค่เนี้ย
http://pantip.com/topic/31733053
ทายาทรุ่นที่สาม 在 ทำไมธุรกิจครอบครัว ล่มสลายเมื่อถึงทายาทรุ่นที่ 3 - YouTube 的推薦與評價
กว่า 80% ของธุรกิจทั่วโลก เป็น 'ธุรกิจครอบครัว' และมีเพียงไม่ถึง 10% เท่านั้น ที่ สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้จนถึง รุ่นที่ 4 เพราะอะไร? ... <看更多>
ทายาทรุ่นที่สาม 在 Amway Thailand - ทายาทรุ่นที่ 3... 的推薦與評價
ทายาทรุ่นที่ 3 ของสองผู้สถาปนาแอมเวย์พร้อมนักธุรกิจแอมเวย์ผู้นำระดับสูงจากประเทศไทย ดร.จินตนา-คุณวรรณพร พรจะเด็ด และคุณศิริพรรณ บุญอริยะ-คุณญาณิศา ถังมณี... ... <看更多>
ทายาทรุ่นที่สาม 在 ทำไมธุรกิจครอบครัวล่มสลายในทายาทรุ่นที่ 3 - YouTube 的推薦與評價
ทำไมธุรกิจครอบครัวล่มสลายใน ทายาทรุ่นที่ 3. SET Thailand. SET Thailand. 330K subscribers. Subscribe. <__slot-el>. Subscribed. ... <看更多>