รู้จัก "ไรเดอร์ในยุคถัดไป" Nuro รถดิลิเวอรีไร้คนขับ /โดย ลงทุนแมน
ภาพที่ทุกคนเห็นว่ามีไรเดอร์คอยส่งอาหารดิลิเวอรีให้เรา
ภาพนี้อาจจะอยู่ได้แค่ในยุคนี้ก็เป็นได้
เพราะในอนาคตการดิลิเวอรีเหล่านี้ อาจทำได้โดยรถที่ไร้คนขับ
“Nuro” สตาร์ตอัปจากสหรัฐอเมริกา คือผู้พัฒนายานพาหนะไร้คนขับเพื่อรับส่งสินค้าแบบ “ดิลิเวอรี” โดยเฉพาะ
รถดิลิเวอรีไร้คนขับของ Nuro น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
การดิลิเวอรี เป็นเมกะเทรนด์ของโลก
รถไร้คนขับ ก็เป็นเมกะเทรนด์ของโลก
ดังนั้นเมื่อนำ การดิลิเวอรี + รถไร้คนขับ มารวมกันก็น่าจะเป็นซูเปอร์เมกะเทรนด์ที่กำลังมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว
โดยยานยนต์ไร้คนขับในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกพัฒนาเพื่อการใช้งานใน 2 รูปแบบหลัก คือเพื่อรับส่งคนและขนส่งสินค้า
ซึ่งบริษัทที่เน้นพัฒนารถสำหรับรับส่งคน ก็มีผู้นำอยู่มากมาย อย่างเช่น Waymo ของ Alphabet, Zoox ของ Amazon และ AutoX จากประเทศจีน รวมไปถึงผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถรับส่งอยู่แล้วอย่าง Uber
ส่วนบริษัทที่เน้นพัฒนารถสำหรับขนส่งสินค้า ก็มีผู้นำอย่างเช่น TuSimple, Aurora และ Embark ซึ่งล้วนเป็นรถบรรทุกไร้คนขับที่ใช้สำหรับส่งสินค้าจำนวนมากเป็นระยะทางไกล จากจุดเก็บสินค้าหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
นั่นจึงทำให้สตาร์ตอัปที่ชื่อว่า “Nuro” เลือกสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ด้วยการเน้นพัฒนารถไร้คนขับ เพื่อส่งสินค้าจากร้านค้าไปถึงมือผู้รับ อย่างเช่น ของสดจากซูเปอร์มาร์เกต อาหาร และพัสดุ ในรูปแบบบริการดิลิเวอรี
Nuro เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2016 หรือ 5 ปีที่แล้ว ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยคุณ Dave Ferguson และคุณ Jiajun Zhu
ซึ่งผู้ร่วมก่อตั้งทั้งคู่ เคยเป็นหัวหน้าทีมวิศวกรในโปรเจกต์พัฒนายานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Google ที่ภายหลังจดทะเบียนแยกเป็นบริษัทโดยใช้ชื่อว่า Waymo
ในปี 2017 Nuro ได้รับใบอนุญาตเพื่อทดสอบรถส่งของไร้คนขับในสนามทดลอง โดยในช่วงแรก Nuro เริ่มต้นพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ เพื่อใช้กับรถยนต์พริอุสของโตโยต้า
หลังจากนั้น Nuro ค่อยเปิดตัวยานยนต์ไร้คนขับที่ออกแบบเองรุ่นแรก ที่ชื่อ R1 ในปี 2018 และพัฒนาต่อยอดเป็นรุ่นที่ 2 ที่ชื่อว่า R2 ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปี 2020
ที่น่าสนใจก็คือ ดีไซน์ยานยนต์ของ Nuro ที่ถูกออกแบบมาใหม่เพื่อการส่งสินค้าโดยเฉพาะ จึงไม่มีที่นั่งสำหรับคนขับ มีเพียงพื้นที่สำหรับบรรจุสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิได้
โดยตัวรถเป็นรูปทรงคล้ายกับเครื่องปิ้งขนมปังที่มีล้อขนาดเล็ก 4 ล้อ และขนาดกะทัดรัดกว่ารถยนต์ทั่วไป
ในเรื่องความปลอดภัย Nuro ได้ติดตั้งระบบความปลอดภัยจำนวนมาก ตามมาตรฐานของยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่น กล้อง 360 องศา, กล้องตรวจจับความร้อน, LiDAR และ Radar เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง
นอกจากนี้ Nuro ยังถูกกำหนดให้ทำความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถให้บริการได้เฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศปกติ เท่านั้น
โดย Nuro เริ่มทดสอบระบบและให้บริการในรัฐแอริโซนาและเท็กซัสก่อน ซึ่งเป็นเมืองแห่งการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับอยู่แล้ว และ Nuro เลือกให้บริการในย่านที่อยู่อาศัยและแถบชานเมืองที่รถวิ่งไม่พลุกพล่าน
สำหรับเส้นทางการให้บริการดิลิเวอรีของ Nuro เริ่มขึ้นในปี 2018 โดยมี Kroger เชนซูเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่ มาร่วมมือพัฒนาระบบดิลิเวอรี เพื่อส่งสินค้าโดยเฉพาะของสดภายในวันที่สั่งเลย
ในปีนั้น Kroger เริ่มให้บริการดิลิเวอรีด้วยรถของ Nuro ที่เมืองสกอตส์เดล รัฐแอริโซนา ก่อนขยายไปที่เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ในช่วงต้นปี 2019
ซึ่ง Kroger ให้บริการโดยไม่กำหนดยอดซื้อขั้นต่ำและคิดค่าบริการแบบคงที่ที่ 5.95 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 197 บาท
หลังจากนั้น Walmart ซึ่งเป็นเชนร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด ก็ได้เข้ามาร่วมมือกับ Nuro เพื่อให้บริการส่งสินค้าที่เมืองฮิวสตันเช่นกัน
ต่อมา Nuro ก็ได้ขยายตลาดไปสู่สินค้าประเภทอาหารพร้อมทานร่วมกับ Domino’s Pizza ในปี 2019
ก่อนที่จะเริ่มให้บริการส่งพิซซาแบบไร้คนขับได้จริง ที่เมืองฮิวสตัน เมื่อเดือนเมษายน ปี 2021 ที่ผ่านมา
ความร่วมมือกับ Domino’s Pizza นี้ก็นับว่าน่าสนใจและเป็นโอกาสขยายการให้บริการที่สำคัญ
ที่บอกแบบนี้ก็เพราะว่าในปี 2020 ที่ผ่านมา ชาวอเมริกันบริโภคพิซซาแบบดิลิเวอรีคิดเป็นมูลค่ากว่า 4.64 แสนล้านบาท ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งมาจากแบรนด์เดียว นั่นคือ Domino’s Pizza
รวมถึงในปี 2020 ที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 Nuro ก็ได้ขยายการให้บริการไปสู่กลุ่ม Healthcare โดยร่วมมือกับ CVS เชนร้านขายยาขนาดใหญ่ เพื่อบริการขนส่งถึงบ้าน สำหรับยาที่มีใบสั่งยาจากแพทย์หรือเภสัชกร ในเมืองฮิวสตัน เช่นเดิม
นอกจากนี้ Nuro ยังใช้ประโยชน์ของรถดิลิเวอรีไร้คนขับเพื่อเข้าไปช่วยส่งอุปกรณ์การแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์อื่นที่สำคัญ ให้กับสเตเดียม 2 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นศูนย์รักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19
และล่าสุดในปี 2021 Nuro ก็ขยายมาสู่บริการขนส่งพัสดุ โดยร่วมมือกับ FedEx
การใช้บริการระบบดิลิเวอรีด้วยรถ Nuro ทำได้เหมือนการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของแต่ละเจ้า เช่น Kroger และ Domino’s Pizza เพียงแค่เลือกวิธีการขนส่งเป็นของ Nuro ซึ่งสามารถเลือกเวลารับสินค้าได้เองด้วย
เมื่อสั่งซื้อสินค้าไปแล้ว ก็จะมีแผนที่ให้ดูได้ว่ารถส่งของอยู่ตรงไหนและจะมีรหัสส่งมาให้
เพื่อใช้ปลดล็อกเพื่อหยิบของเมื่อรถส่งของมาถึง โดยใส่รหัสผ่านหน้าจอแบบสัมผัส
แม้ว่าในปัจจุบัน ลูกค้าที่สั่งสินค้าและใช้บริการดิลิเวอรีของ Nuro ยังต้องเสียค่าบริการอยู่ แต่ผู้บริหารมีเป้าหมายที่จะไม่คิดค่าบริการในอนาคต โดยจะเก็บค่าบริการจากร้านค้าที่เลือกใช้บริการของ Nuro เท่านั้น
ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าชาวอเมริกันกว่า 90% ชื่นชอบบริการรถดิลิเวอรีไร้คนขับ แต่ยังมีอุปสรรคที่สำคัญคือค่าบริการ
สิ่งที่น่าติดตามก็คือว่า บางบริษัทที่เป็นพาร์ตเนอร์กับ Nuro ก็ยังร่วมพัฒนาระบบดิลิเวอรีไร้คนขับกับเจ้าอื่นด้วย อย่างเช่น Domino’s Pizza ที่เคยเป็นพาร์ตเนอร์กับ Ford มาก่อน และ Walmart ก็เลือกเป็นพาร์ตเนอร์กับสตาร์ตอัปอีกหลายเจ้า
แต่เมื่อเทียบกับพาร์ตเนอร์เหล่านั้น ยังคงมีเพียง Nuro ที่เป็นรถที่ออกแบบมาเพื่อบรรจุสินค้าโดยเฉพาะ
นอกจากผู้พัฒนารถไร้คนขับเพื่อส่งของเหมือนกันแล้ว คู่แข่งของ Nuro ก็ยังมีบริการส่งของไร้คนขับในรูปแบบอื่น อย่างเช่น หุ่นยนต์ส่งของมีล้อที่ชื่อ Scout ของ Amazon ที่มีขนาดเล็กกว่ารถของ Nuro และไม่ได้วิ่งบนถนน แต่วิ่งได้เฉพาะบนทางเท้า
ยังรวมไปถึงการขนส่งสินค้าด้วยโดรน ที่แม้จะเหมาะสำหรับใช้ขนส่งสินค้าบางประเภทที่แตกต่างกัน แต่ก็ถือเป็นพัฒนาการที่น่าจับตามอง
ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ ก็ถือเป็นเรื่องปกติของการแข่งขันทางธุรกิจ แต่ที่สำคัญก็คือช่วงเวลาที่ผ่านมา Nuro ได้พิสูจน์มาในระดับหนึ่งว่าเป็นผู้นำของรถดิลิเวอรีไร้คนขับ
โดยรถรุ่น R2 ที่เปิดตัวช่วงต้นปี 2020 เป็นยานยนต์ไร้คนขับรุ่นแรก ที่ไม่มีพวงมาลัย คันเร่ง เบรก กระจกมองข้าง กระจกมองหลัง และส่วนประกอบอื่นตามมาตรฐานรถยนต์แบบดั้งเดิม ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย จากหน่วยงานภาครัฐ
หลังจากนั้นไม่นาน Nuro ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานด้านการขนส่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้เริ่มทดสอบวิ่งส่งของได้จริง เป็นบริษัทที่ 2 ต่อจาก Waymo
และปลายปี 2020 Nuro ก็แซง Waymo ได้ด้วยการได้รับอนุญาตให้บริการรถส่งของไร้คนขับ “เชิงพาณิชย์” เป็นบริษัทแรกในแคลิฟอร์เนีย นั่นคือสามารถเริ่มเก็บค่าบริการขนส่งได้
ซึ่งที่ผ่านมา Nuro ก็สามารถระดมทุนไปได้ราว 49,725 ล้านบาท จากกองทุนชั้นนำอย่าง Baillie Gifford และ Fidelity Management and Research รวมไปถึง Softbank Vision Fund ซึ่งเป็นผู้ลงทุนหลักกว่า 60% ของเงินทุนทั้งหมดที่ Nuro ได้รับ จนปัจจุบัน Nuro ถูกประเมินมูลค่ากว่า 165,750 ล้านบาท
จากเรื่องราวการสร้างความแตกต่างให้ยานยนต์ไร้คนขับของ Nuro ก็ทำให้เราสรุปได้ว่านวัตกรรมรถไร้คนขับกำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตเรามากขึ้นในอนาคต และก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งในเมกะเทรนด์ ที่น่าจับตามอง
และเมื่อถึงเวลานั้นจริง ไรเดอร์ที่เป็นมนุษย์ซึ่งมีบทบาทต่อวงการดิลิเวอรีในปัจจุบัน ก็อาจเจอความท้าทาย อย่างยิ่ง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.com/self-driving-delivery-vehicle-startup-nuro-how-it-works-2020-11
-https://techcrunch.com/2020/12/23/nuro-can-now-operate-and-charge-for-autonomous-delivery-services-in-california/
-https://techcrunch.com/2020/11/09/autonomous-delivery-startup-nuro-hits-5-billion-valuation-on-fresh-funding-of-500-million/
-https://www.theverge.com/2018/8/16/17693760/nuro-kroger-self-driving-delivery-scottsdale-arizona
-https://www.theverge.com/2018/1/30/16936548/nuro-self-driving-delivery-last-mile-google
-https://www.theverge.com/2020/4/22/21231466/nuro-delivery-robot-health-care-workers-food-supplies-california
-https://www.wired.com/story/vehicle-no-side-view-mirrors-legal/
-https://www.crunchbase.com/organization/nuro-2
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「last mile delivery」的推薦目錄:
- 關於last mile delivery 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於last mile delivery 在 Engadget Facebook 的最佳貼文
- 關於last mile delivery 在 小金魚的人生實驗室 Facebook 的最佳貼文
- 關於last mile delivery 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於last mile delivery 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於last mile delivery 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於last mile delivery 在 Last mile delivery是什麼?... - Sunlight Logistics Solution 的評價
- 關於last mile delivery 在 Last Mile Delivery - YouTube 的評價
last mile delivery 在 Engadget Facebook 的最佳貼文
An autonomous courier might carry a parcel to your door.
last mile delivery 在 小金魚的人生實驗室 Facebook 的最佳貼文
#華爾街日報導讀 08 #京東物流IPO #公開說明書解讀 #痛苦過就會格外快樂 #這是今天的快樂
哈哈哈哈哈,第一個hashtag是怎麼一回事XDDD
是我現在打文章的心情,故事這樣的。
這週是我與 Sandy's Recruitment note 雙週一次的華爾街日報導讀(本週已經來到了第8次),這次主持人選定的主題是「#京東物流IPO」,我懂我懂,你一定想說「這是什麼很無聊的主題」,我真的懂,我昨天做到半夜三點的時候我也是內心充滿髒話🤬
為什麼會熬夜做?因為晚上11點,我收到了Sandy傳來她的簡報,我一打開,我馬上問說「欸,不是說只做兩頁?」。
Sandy一派輕鬆的說「沒有啊~我就做著做著就超過了~」
好!這兩個禮拜都是work from home,我整個時差大亂,造成好多事情都被大亂,例如說電子報超過一個禮拜沒有發送之類的QAQ
但這一切,都沒關係,答應了就要做到好,這是M社小白姐告訴我的,於是我就這樣做到了半夜。
但是,還是很喜歡華爾街日報導讀,因為沒有時間、沒有人陪、沒有壓力,誰會真的自動自發的做商業研究?我不知道有誰?但是我自己是不會啦XDDD所以我真心喜歡華爾街日報導讀,覺得這是我一個成長的動力。
只是說,這個京東IPO啊~他的公開文件啊~因為在香港首次公開發行,所以都是 #英文的,英文的,英文的,大半夜在看英文,哈哈哈哈,但我真的覺得還好我有真的很認真的看,看著看著覺得非常的有趣。
因為覺得非常非常有趣,忍不住要打下來跟大家分享。
▍#本週參與盛況
因應疫情的關係,我們從上一次開始就自主採用線上的方式進行,但時間不變(還是一大早 9:30 - 12:30),這個時間點,竟然有24位同時在線上,我覺得非常值得紀錄。(好啦我都特地寫文章了,就是要記錄的意思啦)
#客座來賓針對京東IPO分析
首先,這次我們的華爾街日報邀請來了在矽谷工作多年的創投家,他跟我們分享幾點:
① #目前物流市場的概況
目前中國還有很大一部分的物流被滿足,尤其是第三線城市或是偏遠鄉區,是很難被運送的,這是為什麼京東仍然願意投資。
② #京東商業模式
物流的商業模式總共有三個很重要的區塊,分別是:金流 / 資訊流 / 食物運動,以阿里巴巴的菜鳥來說,他首先搶入的市場就是資訊流跟金流。而京東目前是想要三個部分都涉入。
③ #為何現在要IPO
因為物流是一個重資本投資的產業,需要有資金才能投資買地、倉儲等投資。
以下為我這次簡單分享,取自於 #京東的IPO公開說明書
▍#京東目前的的概況
京東目前有超過1,000個倉儲空間,配送的人力超過20萬名人力,而且支出的前三名為薪水(17.9%)、外包人力(16.2%)、租金(4.4%),從三個數字,我們可以輕易的看出來,物流本身是一個高資本投資的產業。
所以Park Capital Group駐香港的投資經理黃敏聰(Stephen Wong) 表示:
「京東物流的資本密集型業務模式帶來了高昂的管理成本,這使得該公司不像其他高增長、輕資產的科技初創企業那樣有吸引力。」
▍#中國物流的花費
1. 以2019年的數字來看,對比同期美國為7.6%、日本為8.5%,物流的GDP比例過高,這是因為目前中國的物流效能有待提升。
2. 每單位的貨運週轉成本因為人力較便宜的關係,遠低於美國(中國:10.1 / 美國18.7,單位為每一公噸的花費,以美金計算) .
3. 高度的電子商務成長以及中國消費者期待更快速收到貨物,因此在最後一哩路運送(Last mile)的運輸更加頻繁,平均運輸長度略低於美國(中國:391.6公里 / 美國 454.0公里)
▍#中國的外包物流產業
1. 對比第一方物流,企業可以藉由第三方物流的過往經驗以及供應鏈的調度提供更完整的物流服務。
2. 2020年,最依靠第三方物流的產業類型分別是:生鮮(85%)、藥材(71.0%)、服飾(67.0%)、快銷產業(65.6%)。
▍#不同產業的物流市場預估
1. 生鮮、快消產業、服飾是預計市場最大的三個類別
2. 汽車產業:市場大小:3.34兆 - 4.46兆,特色:大量的sku、需要倉管以及運送管理。
3. 服飾產業:市場大小:1.92兆 - 3.49兆。特色:產業挑戰大、大量的sku數、季節性、終端消費者變換以及需求多元。
4. 快消產業:市場大小:2.21兆 - 4.37兆,特色:大型節日會有極端的需求量,尤其需要與大數據合作。
5. 3C產業:市場大小:1.8兆 - 3.1兆,特色:絕對準確的時間、保護的問題
6. 家具產業:市場大小:0.7兆 - 1.1兆,特色:產品大小、需要安裝
▍#一站式服務
一站式服務是這次京東很強調的內容,總體來說總共包含了六個面向:
① express delivery:快遞,這是最常見的,包含了郵局、宅急便、快遞公司、機車、自行車即時轉送都是。
② full truckload(FTL):整車貨物運輸,也就是一整台車都是運送單一貨物。
③ less-than truckload:一台車運送不同企業的貨物。
④ last time delivery:直接送到終端消費者的手中,像是我們的宅配,就是last time delivery,台灣還有像lalamove也是last time delivery。
⑤ warehousing:倉儲。
⑥ 其他附加的服務:例如說運動傢俱的時候,包含了安裝的服務,或是售後服務。
▍#一站式服務的價值
1. 過往的第三方物流通常只專注在某一個部分,但是越來越多企業需要同時多種彈性的服務,以及從企業端直接運送到消費者。
2. 依賴高科技以及數據資料:撿貨、運送自動化。
3. 高度依賴產業Know-how:例如不同類型貨物的運送方式、終端 消費者的需求、商品銷售循環等等。
4. 賦能商家運營:包含了業績預測、生產計畫、sku管理、終端消費者訂單管理、深入與客戶合作。
▍#一站式服務的價值
1. 日益上漲多元化物流需求,消費者對於運送速度愈加講求
2. 數據與多元化售後服務需求
3. 推動物流業製造業深度融合創新發展實施方案
好,今天就寫到這裡。
看了資料第一次,做PPT有想了一次,然後現在又寫了一次,我覺得,今天就先這樣XDDDD
如果你對於我們每雙週討論的內容有興趣,歡迎訂閱每雙週一的華爾街日報導讀電子報,會整理每次的討論。
訂閱連結:https://hi.goldfishblog.tw/wsj
每一次的華爾街日報導讀全記錄可以看這裡的整理:https://goldfishblog.tw/wsj/
ps 24小時內,今天旁聽的二班,馬上就來了一篇非常完整的總結,omg,值得鼓掌與鼓勵,老話一句 #產出就是你的,歡迎這裡看:
她說「哈哈哈,有小金魚的激勵,換我接棒分享整理:http://www.cestlaviecarol.com/wsj-i-20210529/」
last mile delivery 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
last mile delivery 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
last mile delivery 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
last mile delivery 在 Last Mile Delivery - YouTube 的推薦與評價
The Last Mile Delivery process has significant impact on the customer experience and accounts for over fifty percent of the transport cost ... ... <看更多>
last mile delivery 在 Last mile delivery是什麼?... - Sunlight Logistics Solution 的推薦與評價
Last mile delivery 是什麼? 在從倉庫貨架到客戶門口的產品運輸過程中,“last mile delivery”是該流程的最後一步- 即是包裹最終到達買方的大門的一刻。 ... <看更多>