รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งในการปกครองระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในลักษณะระบอบราชาธิปไตยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีหลายประเทศด้วยกันในแต่ละทวีป ดังนี้
1.1 รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในลักษณะ “ระบอบปรมิตาญาสิทธิราชย์” หรือเรียกว่า “ระบอบราชาธิปไตย” โดยมีชื่อเรียกเป็นทางการ ดังนี้
1. ทวีปอัฟริกา คือ ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ (Kingdom of Swaziland) เป็นรัฐเล็ก ๆ อยู่ใกล้กับอัฟริกาใต้
2. ทวีปยุโรป คือ นครรัฐวาติกัน (Stato della Citta del Vaticano)
3. ทวีปเอเชีย ได้แก่ ราชอาณาจักรฮัชไมจอร์แดน (Hashermite Kingdom of Jordan) ราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย (Kingdom of Saudi Arabia)
รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman) รัฐการ์ตา (State of Qatar) รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)
1.2 รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ มีชื่อเรียก
เป็นทางการ ดังนี้
1. ในทวีปอเมริกาเหนือ คือ บีไลซ์ (Belize) ซึ่งเป็นรัฐเล็ก ๆอยู่ติดกับเม็กซิโกและกัวเตมาลา
2. ทวีปอัฟริกา ได้แก่ ราชอาณาจักรมอร็อคโค (Kingdom of Morocco) ราชอาณาจักรเลโซโท (Kingdom of Lesotho) เป็นรัฐเล็ก ๆ ที่อยู่
ใกล้กับอัฟริกาใต้
3. ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย คือ ราชอาณาจักรตองกา (Kingdom of Tonga)
4. ทวีปยุโรป ได้แก่ สหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนเหนือ (United Kingdom of Great Britian and Northern Irland) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (Kingdom of denmark) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway) ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม (Kingdom of Belgium) ราชอาณาจักรลักแซมเบอร์ก (Grand Duchy of Luxembourg) ราชรัฐโมนาโค (Principality of Monaco) ราชรัฐลิกเตนสไตน์ (Principality of Ligtenstine) ราชรัฐอันดอรา (Principality of Undora) ราชอาณาจักรสเปน (Kingdom of Spain)
5.ทวีปเอเชีย ได้แก่ ราชอาณาจักรฮัชไมจอร์แดน (Hashermite Kingdom of Jordan) รัฐคูเวต (State of Kuwait) รัฐบาเรนห์ (State of Barain) ญี่ปุ่น (Japan) ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) มาเลย์เซีย (Malaysia) และ ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
แต่อย่างไรก็ตาม ชื่อประมุขของรัฐและชื่อเรียกของรัฐนั้น
จะมีการเรียกชื่อประมุขของรัฐอย่างเป็นทางการที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ถ้าประมุขของรัฐเป็น “พระมหากษัตริย์หรือราชินี”
เราเรียกรัฐนั้นว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) ถ้าประมุขของรัฐเป็น “เจ้าชาย” (Prince) หรือ “ดยุ๊ค” (Duchy) เราเรียกรัฐนั้นว่า “Grand Duchy” หรือ “ราชรัฐ”
เราเรียกรัฐนั้นว่า “Principality”
2. มีรัฐที่มีชื่อเรียกประมุของรัฐแตกต่างกัน ดังนี้
1) รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น คูเวต บาร์เรนห์ การ์ตา หรือบรูไน ไม่ใช้คำว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) ประกอบชื่อ กลับใช้คำว่า “รัฐ” (State) ซึ่งเป็นคำกลาง ๆ ประกอบชื่อ ซึ่งรัฐเหล่านี้จะเป็นรัฐเล็กๆทั้งสิ้น
2) รัฐที่ใช้คำว่า “รัฐสุลต่าน” (Sultannate) ประกอบชื่อไม่ใช่คำว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) หรือ “รัฐ” (State) นั้นเป็นการบอกให้ทราบถึงผู้ปกครองของรัฐเป็นสุลต่าน
3) ญี่ปุ่นกับมาเลย์เซียไม่ใช้คำว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) หรือคำใดๆเลยประกอบชื่อประเทศใดๆทั้งสิ้น
(อ้างใน สิทธิกร ศักดิ์แสง “รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครองของรัฐ : กรณีศึกษารูปแบบ
การปกครองของประเทศไทย” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 61 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2556 )
「ราชอาณาจักรไทย ได้แก่」的推薦目錄:
- 關於ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 Tukta Kantana Facebook 的最佳貼文
- 關於ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 สิทธิและเสรีภาพของคนไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ... 的評價
- 關於ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เรื่อง การจัดการ ... 的評價
ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
วิเคราะห์การยกเลิกรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษาการยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศไทยในอดีต-ปัจจุบัน
สิทธิกร ศักดิ์แสง*
จากที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าในตำราหลายเรื่อด้วยกันและได้เขียนในบทความและหนังสือ เอกสารคำสอน ก็ยังพบว่ายังมีความบกพร่องในการสื่อและการอธิบายของความกระจ่างชัดในเรื่องของการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ทำให้ผู้เขียนมีความมุ่งมั่นที่จะทำการศึกษาค้นคว้าหาข้อสรุปเกี่ยวกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญเพื่อทำความเข้าใจให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งพิจารณาศึกษาพบว่าการยกเลิกรัฐธรรมนูญนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการยกเลิกรัฐธรรมนูญตามวิถีทางรัฐธรรมนูญกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ ดังนั้นในบทความนี้ผู้เขียนมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์การยกเลิกรัฐธรรมนูญแต่ละกรณีแล้วจะทำการวิเคราะห์ต่อมาว่าประเทศไทยได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการใดบ้างในรัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดังนี้
วิเคราะห์หลักทั่วไปในการยกเลิกรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาถึงหลักทั่วไปการยกเลิกรัฐธรรมนูญ การยกเลิกรัฐธรรมนูญ หมายถึง การกระทำให้รัฐธรรมนูญนั้นสิ้นสุดไม่ให้นำมาบังคับใช้อีกต่อไปด้วยวิธีการ 2 วิธีการ กล่าวคือ วิธีการที่ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับด้วยวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับเดิมกับวิธีการที่ 2 การยกยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการปฏิวัติกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยการรัฐประหาร ดังนี้
1.การยกเลิกรัฐธรรมนูญตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ
การยกเลิกรัฐธรรมนูญตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำให้รัฐธรรมนูญนั้นสิ้นสุดด้วยวิถีทางรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญมอบให้มีการกระทำในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับมอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ขึ้นมาแทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิม แยกอธิบายได้ดังนี้
1.1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (Revision) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ว่าโดยการตัดข้อความเดิมออก การแก้ไขถ้อยคำหรือข้อความเดิมที่มีอยู่แล้วหรือโดยการตัดข้อความเดิมออกหรือโดยการเพิ่มเติมข้อความใหม่เข้าไป ซึ่งอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า “อำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็น “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” ส่วนองค์กรที่ลงมือแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นถือว่ามี “อำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญ” ซึ่งการที่ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะการมีรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับกฎหมายอื่นโดยทั่วไปที่อาจล้าสมัย หรืออาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมืองในเวลาต่อมา หรือการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ก็เท่ากับเป็นการระบายความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของประชาชนในแต่ละสมัยให้ปรากฏออกมาแทนที่จะอัดอั้นไว้ หากไม่ยอมให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้เมื่อประชาชนเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง อาจเป็นเหตุให้นำไปสู่การปฏิวัติ (Revolution) หรือรัฐประหาร (Coup d’ Etate) เพื่อล้มเลิกรัฐธรรมนูญนั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงมีความจำเป็นที่ต้องให้มี การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ) ได้
1.1.1 วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีข้อพิจารณาวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อยู่ 2 ลักษณะ คือ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างง่ายกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างยาก แต่ในที่นี้จะขอวิเคราะห์อธิบายรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์ที่เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ซึ่งมีวิธีการแก้ไขการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วนบางมาตรา ซึ่งประเทศต่างๆ ได้มีกระบวนการหรือกำหนดให้มีวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วนหรือบางมาตรา และจะเป็นรัฐธรรมนูญของประเทศที่กำหนดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างยาก ซึ่งในทางทฤษฎีถือว่าเป็นอำนาจสำคัญในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญมอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เรียกว่า “อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญ” ดังนี้
1.1.1.1 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
การแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญทั้งฉบับในทางกฎหมายหรือในทางทฤษฎีก็คือ เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ เช่นกัน กล่าวคือ เมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาใช้แทนฉบับฉบับเก่า เช่น อาจจะมอบให้สภานิติบัญญัติเป็นผู้ดำเนินการแก้ไข หรือตั้งองค์กรพิเศษ เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาดำเนินการแก้ไข หรือ อาจประชาชนผู้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
1.1.1.2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วนบางมาตรา
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วนบางมาตรา รัฐธรรมนูญเกือบทุกประเทศจะกำหนดให้มีกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนที่เห็นว่าล้าสมัยหรือมาตราที่ไม่สามารถจะรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ หรืออาจจะไม่เหมาะสมในกระบวนการบังคับใช้ ก็จะสามารถกำหนดให้ เช่น กำหนดรัฐสภา หรือ องค์กรพิเศษ หรือ ประชาชน ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้
1.1.2 กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
การควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อาจกระกระทำได้ตามกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้
1.2.1.1 ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ส่วนมากจะเป็นผู้ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภา (สภานิติบัญญัติ) พิจารณา ซึ่งได้แก่ ประมุขของรัฐ สมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และประชาชน ดังนี้
1.การให้สิทธิประมุขของรัฐเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญให้สิทธิประมุขของรัฐเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศอินเดีย การเสนอขอแก้ไขของประมุขของรัฐจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภานิติบัญญัติจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 เป็นต้น
2. การให้สิทธิสมาชิกรัฐสภาเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญให้สิทธิสมาชิกรัฐสภา (สมาชิกสภานิติบัญญัติ) เป็นผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ต้องมีสมาชิกจำนวนหนึ่งรับรองด้วย เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศบัลแกเรีย กำหนดให้มีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นผู้รับรอง รัฐธรรมนูญของประเทศอียิปต์กำหนดให้มีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เป็นต้น
3. การให้สิทธิคณะรัฐมนตรีเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญให้สิทธิคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เช่น ประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น
4. การให้สิทธิประชาชนเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชน เป็นผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จำนวน 100,000 คนขึ้นไป หรือในประเทศเยอรมนีให้สิทธิแก่ประชาชนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอแก้ไขเปลี่ยนแปลง รัฐธรรมนูญนั้น ในแต่ละมลรัฐของประเทศเยอรมนีนั้นจะต้องเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำหรือเพิ่มเติมถ้อยคำในรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ จะต้องเป็นการแก้ไขถ้อยคำโดยชัดแจ้ง ซึ่งการให้สิทธิแก่ประชาชนให้เสนอขอแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐโดยวิธีการเสนอร่างกฎหมายของประชาชน (Initiative Process) ได้มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของหลายมลรัฐ อาทิเช่น มลรัฐBrandenburg มลรัฐThueringen มลรัฐSachsen มลรัฐNiedersachsen และมลรัฐSchteswig-Holstein เป็นต้น โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ จะต้องมีประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งร่วมกัน เข้าชื่อริเริ่มเสนอร่างกฎหมายตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญของแต่ละมลรัฐกำหนด เป็นต้น
1.2.2.2 ผู้ดำเนินการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่าในประเทศต่างได้กำหนดให้ผู้ดำเนินการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ส่วนมากกำหนดให้รัฐสภา (ฝายนิติบัญญัติ) เป็นผู้ดำเนินการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามบางประเทศก็ยังกำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เสนอแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1. รัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนได้เลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ถ้าหากเป็นระบบสองสภา (สภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา) สภาทั้งสองจะประชุมร่วมกันแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ) จะต้องนำไปขอความเห็นชอบจากรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ของทุกมลรัฐ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากทุกมลรัฐแล้วอาจดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ ให้รัฐสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบหรือเมื่อรัฐสภาของมลรัฐ (ฝ่ายนิติบัญญัติของมลรัฐ) จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ร้องขอ ให้รัฐสภาจัดตั้งสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ หรือเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ดำเนินไปเสร็จแล้วต้องขอให้ รัฐสภาของมลรัฐ (ฝ่ายนิติบัญญัติของมลรัฐ) จะจัดตั้งขึ้นลงมติให้ความเห็นชอบมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ในประเทศฝรั่งเศส ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามลำดับ และถ้าประธานาธิบดีเห็นสมควร อาจขอให้ประชาชนออกเสียงแสดงประชามติว่าเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ได้
ข้อสังเกต การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆนั้นจะไม่นิยมจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือคณะกรรมการพิเศษเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเหมือนกับการจัดทำรัฐธรรมนูญ แต่นิยมมอบให้รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) เป็นผู้ดำเนินการแก้ไข
2. การให้ประมุขของรัฐเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งการให้ประมุขของรัฐเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หน้าที่ของประมุขของรัฐในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็คือ การลงนามในรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายประเทศได้ให้อำนาจประมุขของรัฐที่จะลงนามในรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ได้ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสได้ให้อำนาจประมุขของรัฐที่จะวินิจฉัยว่าสมควรให้ประชาชนลงคะแนนเสียงแสดงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอหรือจะส่งร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้รัฐสภาพิจารณาใหม่ก็ได้ เป็นต้น
3.การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กระทำในลักษณะของการให้สิทธิประชาชนออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยในร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งฉบับหรือบางส่วน ดังนี้
1) การเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ (Total Revision) เช่น การเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยยกเลิกฉบับเก่าและยกร่างฉบับใหม่ซึ่งในขั้นตอนนี้ข้อเสนอของประชาชนในการขอแก้ไขเพิ่มเติมจะถูกส่งไปยังประชาชนเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติในระดับชาติในเบื้องต้นก่อน ว่าเห็นสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามคำขอดังกล่าวหรือไม่ หากเสียงข้างมากของประชาชนลงมติเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว และเมื่อได้ทำการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นโดยสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาใหม่แล้ว ก่อนที่จะมีการประกาศใช้จะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาให้ประชาชนทั้งประเทศออกเสียงประชามติ เพื่อให้ความเห็นชอบโดยเสียงข้างมากของประชาชน เป็นต้น
2) การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพียงบางส่วน (Partial Revision) การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพียงบางส่วนโดยประชาชนสามารถที่จะริเริ่มเสนอได้ 2 รูปแบบ คือ การริเริ่มเสนอแก้ไขโดยจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและการริเริ่มเสนอแก้ไขโดยเสนอเพียงหลักการๆทั่วไป ดังนี้
(1) การริเริ่มเสนอแก้ไขโดยจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ริเริ่มก่อการจะต้องจะนำเสนอเป็นบทบัญญัติที่มีความชัดเจนในส่วนของรัฐธรรมนูญที่ต้องการแก้ไขเพื่อให้รัฐสภาพิจารณา โดยในขั้นตอนนี้สภาไม่สามารถที่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาใดๆในร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเสนอนั้นได้ แต่สภาสามารถที่จะเสนอทางเลือกอื่นเพื่อให้ประชาชนพิจารณาควบคู่กันในการออกเสียงประชามติในเบื้องต้นได้ หากปรากฏว่าผลของการลงประชามติเสียงข้างมากเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะตกไป และรัฐสภาก็มีหน้าที่จะต้องดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามข้อเสนอที่ได้รับความเห็นชอบนั้น และจะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาแก้ไขเสร็จแล้วนั้นไปให้ประชาชนทั้งประเทศออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง (Final Vote) ซึ่งในขั้นตอนนี้กฎหมายกำหนดให้จะต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบ อาจจะเห็นชอบแบบเสียงข้างมากกึ่งหนึ่งหรือแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด (Double majority)หรือเห็นชอบแบบเสียงข้างมากแบบธรรมดา ก็ได้แล้วแต่ละประเทศกำหนด
(2) การริเริ่มขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติมโดยเสนอเพียงหลักการทั่วไป ผู้เริ่มก่อการไม่จำเป็นจะต้องจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาเช่นเดียวกันกับกรณีแรก แต่ผู้ริเริ่มก่อการสามารถที่จะเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในลักษณะของข้อเสนอทั่วไป (General proposition) เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาได้ กล่าวคือ เป็นการบรรยายสิ่งที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงและนำเสนอต่อสภาเท่านั้น และเมื่อรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบกับข้อเสนอทั่วไปของประชาชน รัฐสภาก็มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นให้เป็นไปตามข้อเสนอของประชาชน และเมื่อยกร่างเสร็จแล้วก่อนที่จะมีการประกาศใช้จะต้องนำไปให้ประชาชนทั้งประเทศทำการออกเสียงประชามติยืนยันอีกครั้งหนึ่ง (Final Vote) โดยจะต้องได้รับคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบอาจจะให้ความเห็นชอบแบบเสียงข้างมากกึ่งหนึ่งหรือแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด (Double majority) หรือให้ความเห็นชอบแบบเสียงข้างมากธรรมดาก็ได้แล้วแต่ละประเทศกำหนด
1.1.3 ขั้นตอนกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ขั้นตอนกระบวนการการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยส่วนมากรัฐธรรมนูญเกือบทุกประเทศมอบให้รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งในหัวนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา จะต้องมีสาระสำคัญของขั้นตอนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 3 วาระ ดังนี้
1. วาระที่ 1 รับร่างหลักการของร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกล่าวคือ การให้ความเห็นชอบรับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และมีการเสนอบุคคล เพื่อดำเนินการยกร่างเพื่อเสนอเสนอให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป ในวาระที่ 2
2. วาระที่ 2 การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้มีการจัดทำร่างในวาระที่ 1 ซึ่งถือเป็นการพิจารณาเรียงมาตราในการลงมติการให้ความเห็นชอบกับการยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของบุคคลที่ได้ตั้งขึ้น เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาลงมติเห็นชอบเป็นรายมาตรา
3. วาระที่ 3 การลงมติการให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อส่งให้ประมุขของรัฐประกาศใช้บังคับต่อไป กล่าวคือ เมื่อรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เสร็จสิ้นโดยการลงมติเห็นชอบ ให้นำเสนอต่อประมุขของรัฐลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
การลงมติทั้ง 3 กรณี ดังกล่าวข้างต้น จะต้องเป็นการลงมติที่มีจำนวนคะแนนเสียงมากเป็นพิเศษ เช่น 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม หรือ 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสภาเดียวหรือสองสภา แต่บางประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย และประเทศอิตาลี กำหนดว่าจะต้องได้คะแนนเสียงข้างมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เป็นต้น
1.1.4 ระยะเวลาแก้ไขเพิ่มเติม
ระยะเวลาแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นการแก้ไขยาก บางประเทศได้กำหนดให้การแก้ไขต้องกระทำในระยะเวลานานพอสมควร เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยี่ยม รัฐธรรมนูญของประเทศเนเธอร์แลนด์ และรัฐธรรมนูญของประเทศกรีซ ได้บัญญัติให้ยุบรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ซึ่งทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว เมื่อประชาชนได้เลือกสมาชิกชุดใหม่ประกอบเป็นรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) แล้ว รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ใหม่จะต้องลงมติให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ซึ่งถูกยุบไปแล้ว สภาใหม่จะแก้ไขประการใดก็ได้ เป็นต้น ส่วนรัฐธรรมนูญของประเทศเดนมาร์ก รัฐธรรมนูญของประเทศฟินแลนด์ และรัฐธรรมนูญของสวีเดน บัญญัติไปในทางที่ว่าจะยุบสภาเพื่อให้สภาลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ก็ได้ เป็นต้น นอกจากการบัญญัติให้รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ซึ่งถูกยุบและรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ที่ได้รับเลือกใหม่ร่วมกันพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีรัฐธรรมนูญบางประเทศที่กำหนดหลักการให้มีระยะเวลาคั่นกลางระหว่างการลงมติแต่ละครั้ง เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศอิตาลีได้บัญญัติให้การลงมติครั้งสุดท้ายต้องกระทำภายหลัง 3 เดือนของการลงมติครั้งที่สอง เป็นต้น
1.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยถือเป็นการจัดทำขึ้นมาใหม่ใช้แทนฉบับเดิม
เมื่อพิจารณาถึงการยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยถือเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ใช้แทนฉบับเดิม นั้นอาจมีขึ้นได้ 2 กรณี ดังนี้
1.2.1 กรณีที่รัฐธรรมนูญฉบับเก่าไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
ถ้าหากข้อความที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศหรือไม่สอดคล้องกับจิตใจมีจำนวนมาก หรือถ้าเป็นหลักสำคัญของรัฐธรรมนูญ เช่น ประชาชนเห็นควรเปลี่ยนระบบประมุขของรัฐจากกษัตริย์เป็นประธานาธิบดีหรือประธานาธิบดีเป็นกษัตริย์ หรือระบบสภาเดียวไม่เหมาะสมสมควรเปลี่ยนเป็นสองสภา หรือกลับกันเปลี่ยนจากสองสภาเป็นสภาเดียว ในกรณีเช่นนี้ผู้มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญในขณะนั้นจะจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ มีหลักการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศและสอดคล้องกับจิตใจของประชาชน จึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อใช้แทนฉบับเก่า
ข้อสังเกต การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจะบัญญัติข้อความให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่กำลังใช้อยู่หรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญในทางนิติศาสตร์ถือว่าเมื่อมีกฎหมายฉบับใหม่ที่สมบูรณ์และกฎหมายฉบับใหม่มีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อความตามกฎหมายฉบับเก่า ตามหลักกฎหมายที่มาทีหลังย่อมยกเลิกกฎหมายที่มีมาก่อนได้
1.2.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมีวัตถุประสงค์ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้แทนฉบับเดิม
การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการที่รัฐธรรมนูญฉบับเดิมมีวัตถุประสงค์ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้แทนฉบับเดิม ในกรณีมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการปฏิวัติหรือรัฐประหารแล้วมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใช้บังคับชั่วคราวเพื่อมีวัตถุประสงค์ให้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
2. ยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ
การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ คือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติ กับการยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการรัฐประหาร ดังนี้
2.1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติ
คำว่าการปฏิวัติ (Revolution) เมื่อนำมาใช้ในความหมายในทางการเมือง หมายถึง พฤติการณ์ในการเลิกล้มหรือล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐบาลซึ่งครองอำนาจอยู่นั้นแล้ว โดยใช้กำลังบังคับแล้วสถาปนาระบอบการปกครองหรือจัดตั้งรัฐบาลใหม่ การปฏิวัติจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงตามระบบเดิม ซึ่งอาจยกเลิกใช้แบบใหม่รื้อโครงสร้างเดิมเป็นส่วนใหญ่ เช่น จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ต้องมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนั้นด้วยเพื่อให้มีหลักการและโครงสร้างการปกครองจากเดิมเปลี่ยนแปลงตามที่คณะปฏิวัติต้องการ และอาจออกกฎหมายมารับรองการกระทำของตนให้ชอบด้วยกฎหมายหรือชอบด้วยรัฐธรรมนูญในเวลาต่อหลังจากการทำปฏิวัติเรียบร้อย เป็นต้น
2.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการรัฐประหาร
การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการคณะรัฐประหาร (Coup d’ Etate) คือ การใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ ยึดอำนาจการปกครองของรัฐมาเป็นอำนาจของคณะรัฐประหาร เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะเพียงรัฐบาล หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการล้มล้างรัฐบาลที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่ไม่ใช่การล้มล้างการปกครองหรือรัฐทั้งรัฐและไม่จำเป็นต้องมีการใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป เมื่อคณะรัฐประหารเข้ามายึดครองอำนาจการปกครองประเทศจึงจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดไว้ไม่ให้มีการปฏิวัติรัฐประหาร จะมีความผิดในข้อหากบฏ เพื่อให้คณะรัฐประหารพ้นข้อหาของความผิดดังกล่าวได้นั้นต้องมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามความผิดนั้นยังเป็นความผิดอาญาอยู่ จึงต้องมีการดำเนินการ เช่น การออกกฎหมายนิรโทษกรรม หรืออาจกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าการกระทำของคณะรัฐประหารนั้นชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นต้น เพื่อให้ตนเองหรือคณะบุคคลดังกล่าวพ้นผิด
2.3 ความแตกต่างระหว่างการปฏิวัติกับการรัฐประหาร
เมื่อพิจารณาถึงการปฏิวัติกับการรัฐประหารจะพบว่าการปฏิวัติกับการรัฐประหารมีความแตกต่างกัน อยู่ 2 ลักษณะ คือ ความแตกต่างในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงกับความแตกต่างในลักษณะของผู้ก่อการ ดังนี้
2.3.1 ความแตกต่างในลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
การปฏิวัติกับการรัฐประหารจะมีความแตกต่างในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองกับการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐบาล คือ การปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบหนึ่งไปสู่อีกระบอบหนึ่ง หรือมีการล้มล้างสถาบันประมุขของรัฐเพื่อเปลี่ยนรูปแบบประมุขของรัฐ ดังนั้นการปฏิวัติต้องเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจหรือการเมืองใหม่ทั้งหมด ตัวอย่างการปฏิวัติ เช่น การปฏิวัติอเมริกาจากอาณานานิคมของประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1776 การปฏิวัติใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย ค.ศ. 1932 (พ.ศ.2475) เป็นต้น ส่วนการรัฐประหาร หมายความแต่เพียงการเปลี่ยนแปลงอำนาจการบริหารประเทศโดยฉับพลันเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาล โดยการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลเดิมแต่ไม่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหรือประมุขของประเทศแต่ประการใด ตัวอย่างในการรัฐประหาร เช่น การรัฐประหารของประเทศบังคลาเทศ ค.ศ. 1966 เป็นต้น
2.3.2 ความแตกต่างในลักษณะของผู้ก่อการ
การปฏิวัติกับการรัฐประหารจะมีความแตกต่างกันในลักษณะของผู้ก่อการ คือ การปฏิวัตินั้นผู้กระทำหรือผู้ก่อการมักจะเป็นประชาชนซึ่งรวมตัวกันขึ้น หรือมีคณะบุคคลดำเนินการโดยความสนับสนุนของประชาชนและอาจมีการใช้กำลังอาวุธหรือแรงผลักดันทางการเมืองประการอื่นก็ได้ ส่วนการรัฐประหารนั้นผู้กระทำหรือผู้ก่อการการมักจะเป็นบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลหรือมีส่วนอยู่ในรัฐบาลหรือโดยคณะทหาร
2.4 ผลทางกฎหมายในการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ
ผลทางกฎหมายในการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ คือ การปฏิวัติ รัฐประหาร นั้นหาชอบด้วยกฎหมายไม่ ซึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และแม้แต่กฎหมายอาญาเองก็ไม่ยอมรับการปฏิวัติหรือการรัฐประหาร ซึ่งจะเป็นความผิดฐานกบฏ ผลของการปฏิวัติหรือรัฐประหารย่อมเป็นที่รับรองตามกฎหมายภายในของทุกรัฐ ผลอันเกิดจากเหตุนี้อาจสมบูรณ์ และชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ทั้งๆที่ไม่มีสิทธิปฏิวัติหรือรัฐประหาร แต่ถ้าปฏิวัติหรือรัฐประหารสำเร็จแล้วคณะปฏิวัติหรือรัฐประหารย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ จัดตั้งรัฐบาลโดยชอบด้วยกฎหมายได้ คำสั่งทั้งปวงที่คณะปฏิวัติหรือรัฐประหารประสงค์จะให้เป็นกฎหมาย ถือว่าเป็นกฎหมายของแผ่นดินหรืออาจมีตรากฎหมายนิรโทษกรรมไว้ด้วยก็ได้เพื่อเป็นอุดช่องว่างไม่ให้มีการฟ้องคดีขึ้นในภายหลัง ดังคำพิพากษาของศาลสูงของประเทศสหรัฐอเมริกาในคดี Well v. Bain ว่า “การใช้กำลังล้มล้างรัฐบาลนั้นก่อให้เกิดผลตรงกันข้ามสองประการ คือ ถ้าทำสำเร็จก็จะเป็นการสถาปนารัฏฐาธิปัตย์ใหม่ แต่ถ้าไม่สำเร็จก็จะเป็นกบฏ”
ดังนั้นผลทางกฎหมายในการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญอาจแยกคำตอบได้ 3 แนวทาง ดังนี้
2.4.1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญย่อมมีผลให้ระบบกฎหมายที่มีอยู่เดิมหมดสภาพไป
การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติรัฐประหารกระทำการสำเร็จย่อมมีผลให้ระบบกฎหมายที่มีอยู่เดิมหมดสภาพไป พร้อมกันนั้นก็ทำให้ความสมบูรณ์ของกฎหมาย ในระบบกฎหมายเดิมก่อนปฏิวัติสิ้นสภาพลงเช่นกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญโดยใช้กำลังย่อมทำให้บรรดากฎหมายที่ใช้อยู่สิ้นสภาพและความสมบูรณ์ลงในทันที เนื่องจากถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นพื้นฐานของระบบกฎหมาย แนวคำตอบหรือแนวคิดดังกล่าวได้รับการยอมรับกันในทางปฏิบัติจากศาลในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ถึง 4 ศาล คือ ศาลฎีกาประเทศปากีสถาน ศาลสูงสุดของประเทศอูกานดา ศาลอุทธรณ์ของโรดีเซีย และ The Judicial Committee of The Privy Council ของประเทศอังกฤษ
2.4.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญไม่มีผลให้ระบบกฎหมายที่มีอยู่เดิมหมดสภาพไป
การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติรัฐประหารกระทำการสำเร็จไม่มีผลให้ระบบกฎหมายที่มีอยู่เดิมหมดสภาพไป กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทที่กำหนดเงื่อนไขความสมบูรณ์ของกฎหมายที่จะตราขึ้นใช้บังคับ กฎหมายใดๆที่ถูกตราขึ้นแล้วตรงตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ กฎหมายนั้นย่อมเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ในตัวของมันเองโดยมิได้ผูกอิงความสมบูรณ์ของมันอยู่กับรัฐธรรมนูญอีกต่อไป
2.4.3 การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญมีผลเฉพาะในบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการเมืองเท่านั้น
การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติรัฐประหารกระทำการสำเร็จมีผลให้ระบบกฎหมายที่มีอยู่เดิมหมดสภาพไปเฉพาะในบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการเมืองเท่านั้น กล่าวคือ ทำให้บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองสิ้นผลใช้บังคับไป โดยที่บทบัญญัติในส่วนอื่นๆ ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่เช่นเดิม
วิเคราะห์การยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศไทยตั้งอดีตถึงปัจจุบัน
ประเทศไทย หลังมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 และมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการต่างๆหลายฉบับด้วยกันจนถึงปัจจุบัน รวม 19 ฉบับ นับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเปลืองที่สุดในโลก พบว่ามีการยกเลิกรัฐธรรมนูญนั้นเกิดขึ้นได้ 2 วิธีด้วยกันคือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการรัฐประหาร ดังนี้
1.1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
การยกเลิกรัฐธรรมนูญวิถีทางรัฐธรรมนูญ คือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยรัฐธรรมนูญฉบับเก่ามีวัตถุประสงค์ให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับเก่าทั้งฉบับ ดังนี้
1.1.1การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิถีทางรัฐธรรมนูญของประเทศไทยพบว่ามีการยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเหตุผลของการยกเลิกใช้รัฐธรรมนูญมีอยู่ว่า รัฐธรรมนูญนั้นไม่ว่าเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อได้ประกาศใช้มาเป็นเวลานานแล้ว อาจมีข้อความที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศ ทั้งบางมาตราและมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ดังนี้
1.1.1.1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางมาตรา
การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยวิถีทางรัฐธรรมในกรณีบางมาตราของประเทศไทย คือ เมื่อมีการยื่นเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราในมาตรานั้นก็จะถูกยกเลิกแล้วให้ใช้มาตราใหม่ที่แก้ไขเพิ่มเติมใช้แทน ดังนี้
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ฉบับที่ 2 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา จำนวน 3 ครั้ง คือ (1) รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 (2) รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พุทธศักราช 2483 รัถธัมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราสดร พุทธศักราช 2485
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ฉบับที่ 3 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา จำนวน 4 ครั้ง คือ (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2490 (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) (ฉะบับที่ 2) พุทธศักราช 2491 (3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับบที่ 3) พุทธศักราช 2491
3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ฉบับที่ 10 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา จำนวน 1 ครั้ง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2518
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ฉบับที่ 13 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา จำนวน 2 ครั้ง คือ (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2528 (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2532
5.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ฉบับที่ 15 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา จำนวน 6 ครั้ง คือ (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535 (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2535 (3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2535 (4) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2535 (5) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 (6) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับที่ 16 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา จำนวน 1 ครั้ง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2548
7.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับที่ 18 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา จำนวน 2 ครั้ง คือ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2554
8.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ฉบับที่ 19 (รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา มีอยู่ 1 ครั้ง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558
1.1.1.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
การยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับของประเทศไทย คือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญด้วยมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่แทนฉบับเก่า ดังนี้
1.การยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
2.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ด้วยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
1.1.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมีวัตถุประสงค์ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับเดิม
การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมีวัตถุประสงค์ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับเดิมของประเทศไทย พบว่ามีอยู่ 2 กรณีด้วยกัน ซึ่งโดยส่วนมากจะกำหนดไว้ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีหลายฉบับด้วยกัน ดังนี้
1.1.2.1 การจัดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเนื่องจากมีความล้าสมัย
การจัดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเนื่องจากมีความล้าสมัย ต้องจัดรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาใช้แทนฉบับเก่า คือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ล้าสมัยจึงได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
1.1.2.2 การจัดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเก่า
การจัดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเก่า รัฐธรรมฉบับเก่าก็จะถูกยกเลิกไป ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดไว้ ดังนี้
1.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศุกราช 2475 เนื่องจากได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
2.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 เนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
3.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2502 เนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
4.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 เนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
5. การยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เนื่องจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2.2.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ
การยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญของประเทศ จะเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญการรัฐประหารทั้งหมด คือ มีจำนวน 10 ครั้ง หลังจากมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งได้บัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลายลักษณ์ที่มีสถานะกฎหมายสูงสุด การยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศไทยนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญโดยการรัฐประหาร ได้แก่
1.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
2.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494
3.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514
4.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519
5.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520
6.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534
7.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถูกยกเลิกในวันที่ 19 กันยายน 2549
8.การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
2.2.3 ผลทางกฎหมายในการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญของประเทศไทย
ผลทางกฎหมายในการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติ รัฐประหารของประเทศไทยที่ผ่านมาที่มีการยอมรับถือว่าเป็นการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด เพราะเมื่อมีการปฏิวัติ รัฐประหารสำเร็จถือว่าคณะปฏิวัติรัฐ ประหารมีอำนาจสูงสุดที่ดำเนินการออกกฎหมายรองรับการกระทำนั้นว่าไม่เป็นความผิด แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีนักวิชาการบางกลุ่มก็ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญถือว่ามีการกระทำความผิดถึงแม้ออกกฎหมายมารองรับก็ตามถือว่าเป็นโมฆะขัดต่อหลักกฎหมายธรรมชาติ
ดังนั้นผลของการยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติ รัฐประหาร ของประเทศไทยถือกันว่าการยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติ รัฐประหาร ไม่มีผลต่อระบบกฎหมายของรัฐหรือบรรดาความสมบูรณ์ของกฎหมายอื่นๆ ในระบบกฎหมาย เว้นแต่จะมีการประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติรัฐประหารออกมายกเลิกกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ) เมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปโดยการปฏิวัติหรือการรัฐประหาร กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็สิ้นผลไปตามรัฐธรรมนูญ เพราะ “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดในรัฐธรรมนูญ” มีความใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญมาก ส่วนกฎหมายธรรมดาอื่นๆ (พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ) ซึ่งเป็น”กฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ” เมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปด้วยการปฏิวัติหรือการรัฐประหารย่อมไม่สิ้นผลไปกับรัฐธรรมนูญเพราะกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ในตัวมันเอง มิได้ผูกอิงควาใสมบูรณ์ของมันอยู่กับรัฐธรรมนูญดังเช่นกฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายเอียดของรัฐธรรมนูญ
บรรณานุกรม
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ “หลักการพื้นฐานกฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,2556
กิตติศักดิ์ ปรกติ “เมื่อนิรโทษกรรมกลายเป็นเรื่องล้าหลังและไร้ประโยชน์” วารสารวันรพี 2550
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โกเมศ ขวัญเมืองและสิทธิกร ศักดิ์แสง “การศึกษาแนวใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป”
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2549
จรัญ โฆษณานันท์ “ปรัชญากฎหมายไทย” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พิมพ์ครั้งที่ 6 ,2545
จรัญ โฆษณานันท์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2538
ปิยบุตร แสงกนกกุล “พระราชอำนาจ องคมนตรีและผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
openbook ,2550
พรเลิศ สุทธิรักษ์ และสิทธิกร ศักดิ์แสง “การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน : กรณีศึกษา
เปรียบเทียบการให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กับ 2550” รายงานวิจัยเสนอต่อวิทยาลัยตาปี ปีการศึกษา 2552
โภคิน พลกุล “ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญไทย” กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์พลชัย,2524,
แม่ลูกจันทร์ “สถิติใหม่” สำนักข่าวหัวเขียว คอลัมน์เด่นไทยรัฐ ไทยรัฐออนไลท์ วันที่ 27 กรกฎาคม
2557 http://www.thairath.co.th/content/438853
รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 36/2550 วันพฤหัสบดี ที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
วนิดา แสงสารพันธ์ “หลักรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน” กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์วิญญูชน,2548
สิทธิกร ศักดิ์แสง “การยกเลิกกฎหมายนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญขัดต่อหลักนิติรัฐหรือไม่” วารสารกฎหมาย
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี (เมษายน –มิถุนายน 2550)
…………………… “สถานะทางกฎหมายของประกาศคณะปฏิวัติ… ?” ได้รับพิจารณาให้เสนอผลงานทาง
วิชาการด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมระดับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ โครงการสัมมนาทางวิชาการด้านนิติศาสตร์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานกิจการยุติธรรม สภานิติศึกษา วันพุธที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2551 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร
………………….. “การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมกับปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำ
และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไทย” กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา,2556
สันติเลิศ เพ็ชรอาภรณ์ “ปัญหาการมีสาวนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 : ศึกษากรณีการเสนอร่างกฎหมายของประชาชนและการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของประชาชน” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2547
David Butler, Austin Ranney. Referendums : A Comparative Study of Practice and
Theory. Washington D.C. : American Enterprise.1980,p.42.
Oxford University Dictionary, 3rd.,vol.Ii,p.1730
Wolf Linder. Swiss Democracy : Possible to Conflict in Multicultural Societies, New York :
ST. Martin’s Press,194,p.9
Oxford University Dictionary, 3rd.,vol.Ii,p.1730
ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 Tukta Kantana Facebook 的最佳貼文
เข็มรัฎฐาภิรักษ์ หรือ เข็ม วปอ.(ภาษาพูด) เป็นเครื่องหมายวิทยฐานะ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เริ่มใช้ตั้งแต่การศึกษารุ่นแรก (ประจำปี พ.ศ. 2498 – 2499) เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นเข็มรัฎฐาภิรักษ์มีดังนี้
รูปทรงของเข็มที่เป็นรูปโล่ หมายถึง สิ่งที่ใช้ป้องกันภัยและอันตรายเมื่อนำมาใช้ร่วมกับภาพธงชาติ จึงมีความหมายถึงการป้องกันประเทศชาติให้อยู่รอดปลอดภัย
แถบธงชาติไทย หมายถึง ราชอาณาจักรไทย
สีฟ้าอ่อน ซึ่งเป็นสีของพื้น โล่ หมายถึง สถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศ เนื่องจากเป็นสีของท้องฟ้าอันเป็นสิ่งที่สูงส่ง
พระมหามงกุฎพร้อมรัศมี หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์
อุณาโลม หมายถึง ศาสนาประจำชาติ เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่ใช้ในพิธีทางศาสนาโดยทั่วไป
จักร หมายถึง กองทัพบก
สมอเรือ หมายถึง กองทัพเรือ
ปีกนก หมายถึง กองทัพอากาศ
ราชสีห์และคชสีห์ หมายรวมถึงกระทรวง ทบวงต่าง ๆ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของ ตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและสำนักนายกรัฐมนตรี
ดาวห้าแฉกสีทอง หมายถึง การผนึกกำลัง ต่าง ๆ ทั้ง 5 ฝ่าย ได้แก่ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ให้เป็นหนึ่งเดียว
ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง ชัยชนะอันเกิดจากความสามัคคี ความพร้อมเพรียงกันของบุคคลทุกฝ่ายในชาติ
ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เรื่อง การจัดการ ... 的推薦與評價
ราชอาณาจักร ขอให้ชาวไทยในออสเตรเลียที่มีสิทธิเลือกตั้ง พิจารณาตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารประจำตัวสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน ... <看更多>
ราชอาณาจักรไทย ได้แก่ 在 สิทธิและเสรีภาพของคนไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ... 的推薦與評價
RLPD #กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ วิสัยทัศน์ “สังคมรู้หน้าที่ เคารพสิทธิมนุษยชน และได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม” ค่านิยม : "TOPS" T = Team ... ... <看更多>