เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กับอาจารย์อดัม เรียนง่าย เข้าใจง่าย ไม่แพง นำไปใช้พูดได้จริง ! เข้าเรียนจากมือถือ แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ที่ www.ajarnadam.tv คุณก็จะได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษไปกับอาจารย์อดัมและทีมติวเตอร์เจ้าของภาษาแบบเข้มข้นกับคอร์สพื้นฐานรายปีราคาสุดคุ้ม ที่เรียนได้ไม่จำกัดครั้ง! ทุกบทอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาการฟัง พูด อ่าน เขียน และไวยากรณ์พื้นฐาน สอนด้วยเทคนิกที่เข้าใจง่าย สนุกสนาน และสามารถนำไปสื่อสารได้จริง สนใจสมัครหรือสอบถาม คลิกแอดไลน์ที่ https://line.me/R/ti/p/%40ajadamonline (ไอดี @ajadamonline) หรือ อินบ็อกซ์มาสอบถามได้เลยครับ
เนื้อหาในคอร์สมีประโยคกว่า 1,000 ประโยคที่ผู้เรียนนำไปใช้พูดได้จริง รวมถึงเนื้อหาอื่น ๆ ดังนี้ :
➡ การฝึกสร้างประโยคพื้นฐาน
➡ การใช้ Verb To Be, Verb To Do, Verb To Have ทั้งในรูปปัจจุบันและรูปอดีต
➡ ฝึกการออกเสียงที่ยากสำหรับคนไทย เช่น เสียง R, L, V, Z, Th, Ch, Sh เสียงควบกล้ำและเสียงอื่น ๆ ที่ไม่มีในภาษาไทย
➡ความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษแบบอเมริกันและแบบบริติช
➡วลีที่เจ้าของภาษาใช้บ่อยที่สุด หรือที่เรียกกันว่า Phrasal Verbs (กริยาวลี) ซึ่งมักทำให้คนไทยสับสนเพราะเป็นวลีที่แปลตรงตัวไม่ได้
➡สำนวนและคำสแลงที่ใช้บ่อยในภาษาพูด
➡ Parts of Speech (ประเภทคำ Noun, Adjective, Verb) ที่ใช้บ่อยที่สุดในภาษาอังกฤษ
➡8 tenses หลัก ๆ ที่ใช้กันทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย
เรียนจบคอร์สแล้วรับรองได้เลยว่าคุณจะใช้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นอย่างแน่นอนนะครับ
so (โซว) นอกจากเป็นคำที่ใช้บ่อยมากแล้วยังเป็นคำที่ดิ้นได้ครับ เช่น
1. (จัง, มาก)
เค้าเท่จัง
He's so cool.
(ฮีซฺ โซว คู่เอิลฺ)
2. (แล้วไง)
แล้วไงต่อ
So what?
(โซว วัท)
3. (ถ้าอย่างนั้น, งั้น)
เราเข้าประเด็นเลย
So, let's get to the point.
(โซว เล็ทสฺ เก็ท ทูว เthอะ โพยนทฺ)
4.(ก็เลย,จึง,ฉะนั้น)
ฉันหิว ฉันก็เลยจะกิน
I'm hungry, so I'm gonna eat.
(อายมฺ ฮั่งกรี โซว อายมฺ เก๊อะเหนอะ อีทฺ)
5. (เพื่อจะได้)
ช่วยเปิดไฟหน่อยเพื่อเราจะได้มองเห็น
Please turn on the lights so that we can see.
(พลีซฺ เทอร์นอน เthอะ ไลทสฺ โซว แthท วี แคน ซี)
6. (งั้น ๆ)
หนังเรื่องนั้นงั้น ๆ
That movie was so-so.
(แthท มุฝิ วัส โซวๆ)
7.(เรื่อย ๆ )
คน A: เป็นไงมั่ง คน B: เรื่อย ๆ
คน A: How are you? คน B: So-so
(ฮาว อารฺ ยู , โซวๆ)
8. (อย่างนั้น,อย่างนี้)
งั้นเหรอ, จริงเหรอ
Is that so?
(อิซ แthท โซว)
แค่ทำอย่างนี้
Just do it like so.
(จัสทฺ ดู อิท ไลคฺ โซว)
9. เป็นต้น, และอื่น ๆ, ฯลฯ
ฉันชอบเล่นกีฬาที่มีทีมเช่นบาสเกตบอล อเมริกันฟุตบล ฟุทบอล เป็นต้น
I like to play team sports such as basketball, football, soccer, and so on.
(อาย ไลคฺ ทูว เพล ทีม สโปร์ทสฺ ซัทเฉิซ แบ๊สกิทบอลฺ ฟึทบอล เซาะเกอร แอนดฺ โซว ออน)
การใช้ ฯลฯ เป็นต้น 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
สิทธิตามกฎหมาย
ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนย่อมเกี่ยวกับสิทธินานาประการที่เป็นคดีกันขึ้นก็เพราะมี การล่วงละเมิดสิทธิต่างๆ นั่นเอง แม้แต่ในสมัยโบราณ บรรดานักปรัชญาทั้งหลายก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิทธินี้เป็นอันมาก แนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ มีอิทธิพลต่อแนวคิดในเรื่องสิทธิมนุษยชน จากการมองสภาพของมนุษย์ว่าเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วควรมีคุณค่าที่ติดตัวมาแต่เกิด ไม่ขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและจะล่วงละเมิดมิได้ คุณค่าตามเงื่อนไขนี้เรียกว่า “สิทธิธรรมชาติ” (Natural Rights) สิทธิดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากความต้องการของมนุษย์ชาติ เพื่อที่จะให้ทุกคนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเยี่ยงอารยชน แต่สิทธิที่จะได้กล่าวถึงต่อไปในบทนี้เป็นเรื่องสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้เท่านั้น
1. ความหมายของสิทธิ
สิทธิ หมายถึง อำนาจตามกฎหมายที่บุคคลได้รับจากกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง โดยสามารถเรียกร้องให้บุคคลอื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรืองดกระทำการ หรือใช้ยันให้บุคคลอื่นต้องยอมรับ สภาพสิทธินี้อาจเป็นไปตามกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชนก็ได้ ดังเช่น รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพ บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะล่วงละเมิดในสิทธิของอีกบุคคลหนึ่งไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้เพื่อรับรองคุ้มครองป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิในทางอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรองประโยชน์และอำนาจในสภาพบุคคล ในทรัพย์สิน ในครอบครัว หากผู้ใดล่วงละเมิดก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน อันเป็นการคุ้มครองสิทธิในทางแพ่ง เป็นต้น
2. ประเภทของสิทธิ
สิทธิของบุคคลตามกฎหมายมิได้มีเพียงเท่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายอาญา หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่มีบัญญัติไว้ในบทกฎหมายอื่นๆ เป็นอันมาก สิทธิต่างๆ ทั้งหลายอาจแยกประเภทได้ 2 ประเภท คือ
1. สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล
2. สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
2.1 สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ได้แก่สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ประกอบด้วยสิทธิในตัวบุคคล สิทธิในครอบครัว สิทธิในทางการเมือง
2.1.1 สิทธิในตัวบุคคล
สิทธิในตัวบุคคล หมายถึง สิทธิซึ่งบุคคลย่อมจะต้องมีในฐานะเป็นเจ้าของตัวของตนเอง ในเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสภาพร่างกาย อนามัย ชื่อเสียงความคิดเห็น และสติปัญญาดังเช่น สิทธิต่างๆต่อไปนี้
1. สิทธิในชีวิตร่างกายและอนามัย ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย บุคคลย่อมมีเสรี
ภาพบริบูรณ์ในร่างกายของตนในวันที่จะกระทำการใดๆ ไปมาในที่ใด หรือ เลือกถิ่นทีอยู่ ณ ที่แห่งใด ได้ตามความพอใจผู้ละเมิดสิทธิ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย ชีวิตอนามัย ของผู้อื่น หรือข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการใดๆ หรือให้งดเว้นกระทำการใดๆ หรือจับกุม กักขัง เป็นต้น
2. สิทธิในชื่อเสียง นอกจากร่างกายอนามัย กฎหมายยังให้
ความคุ้มครองตลอดจนชื่อเสียงของบุคคล ในอันที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้โดยมิให้บุคคลอื่นโต้แย้ง หรือทำให้เสื่อมเสียประโยชน์เพราะ การใช้นามเดียวกันกฎหมายจึงให้ความคุ้มครองแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ เป็นต้น
3. สิทธิในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการอยู่อาศัยและครอบ
ครองเคหสถานโดยปกติสุขภาระที่บุคคลอื่นจะเข้าไปในเคหสถานหรือตรวจค้น เคหสถานของผู้ใดโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองและโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ผู้นั้นอาจมีความผิดฐานบุกรุก เป็นต้น
4. สิทธิในความคิดเห็น กฎหมายรับรองให้บุคคลมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความ
คิดเห็นและการแสดงออก มีเสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา แต่จะต้องมีขอบเขตจำกัดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือเป็นภัยแก่ประเทศชาติ
5. สิทธิในการประชุมและการตั้งสมาคม การร่วมประชุม และการตั้งสมาคมเป็นสิทธิในตัวบุคคล กฎหมายรับรองเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสช่วยกันบำรุงส่งเสริมกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น การกีฬา การบันเทิง วรรณคดี ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการเมือง แต่ถ้าเป็นการประชุมหรือสมคบกันในคณะบุคคลที่มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะเป็นการทำลายความสงบสุขของประชาชน อาจเป็นความผิด ต้องได้รับโทษฐานเป็นอั้งยี่ หรือซองโจรได้
6. สิทธิในการศึกษา บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษา โดยได้รับการรับอรองและคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายทั้งการศึกษาในระดับภาคบังคับและการศึกษาที่สูงกว่าระดับภาคบังคับ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือเอกชนก็ตาม
7. สิทธิในการประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อความมั่นคงแห่งตนเองหรือครอบครัว บุคคลย่อมมีสิทธิในการประกอบการงานและความรู้ความสามารถ กฎหมายให้ความคุ้มครองต่อการประกอบอาชีพโดยสุจริตของทุกคน นอกจากอาชีพบางประเภท ซึ่งจำเป็นต้องใช้คุณวุฒิพิเศษ เช่นการประกอบโรคศิลป์ ทนายความ เป็นต้น
8. สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา กฎหมายให้เสรีภาพแก่ทุกคนที่จะเลือกนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือ ลัทธินิยมในทางศาสนาใดๆได้รับความสมัครใจ ตลอดทั้งยินยอมให้มีการปฏิบัติสักการะบูชาและประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตนได้ ในเมื่อไม่เป็นปรปักษ์ต่อบุคคลอื่นและไม่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.1.2 สิทธิในครอบครัว
สิทธิในครอบครัว หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองในเรื่องที่เกี่ยวด้วยครอบครัว ดังเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีบทบัญญัติในการรับรองคุ้มครองสิทธิในครอบครัวไว้ในบรรพ 5 สิทธิในครอบครัวประกอบสิทธิที่สำคัญดังต่อไปนี้เช่น
1. สิทธิของบิดามารดากับบุตร บุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิใช้นามสกุลของ
บิดา มีสิทธิในการรับรองการศึกษาตามสมควรและได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาในระหว่างเป็นผู้เยาว์หรือแม้เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นผู้ทุพพลภาพ และหาเลี้ยงตนเองมิได้
2. สิทธิของสามีกับภรรยา เมื่อหญิงกับชายกระทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดสิทธิในครอบครัวขึ้นบางประการ เช่นสิทธิที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามความสามารถและฐานะ สิทธิที่จะจัดการสินสมรสร่วมกันหญิงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของสามี เป็นต้น
3. สิทธิในการรับมรดก การเป็นสมาชิกในครอบครัว ก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลอีกประการหนึ่ง คือสิทธิได้รับทรัพย์สินอันเป็นมรดก ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งได้แก่การเป็นบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือเป็นคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น
2.1.3 สิทธิในทางการเมือง
สิทธิในทางการเมือง หมายถึง สิทธิที่ให้เฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติของประเทศเมื่อมีอายุ และคุณสมบัติบางประการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้มีโอกาสเข้าเกี่ยวข้อง หรือร่วมมือในการปกครองบ้านเมืองของตน เช่น สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในหน้าที่ต่างๆ เป็นต้น
2.2 สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอยู่เหนือทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น ทรัพย์สิทธิ และสิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ (บุคคลสิทธิ์)
2.2.1 ทรัพย์สิน
ทรัพย์สิทธิ เป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอำนาจเหนือทรัพย์สินของตนซึ่ง
มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์ จัดว่าเป็นสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินโดยตรงได้แก่
1. กรรมสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินแสดงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน เป็นสิทธิอัน
สมบูรณ์ที่สุดที่บุคคลจะพึงมีในทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ได้รวมเอาสิทธิทั้งหลายเกี่ยวกับทรัพย์สินเข้าไว้ด้วยกัน คือ สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ ในการจำหน่ายทรัพย์สิน สิทธิที่จะได้ดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิ สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดข้องเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. สิทธิครอบครอง เป็นทรัพย์สิทธิประเภทเดียวกับกรรมสิทธิ์คือ เป็นทรัพย์สินที่แสดงความเป็นเจ้าของ ดังนั้นถ้าผู้ใดเป็นเจ้าของก็มักจะมีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบอยู่ด้วย แต่บางครั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์อาจจะมอบการครอบครองให้แก่บุคคลอื่นก็ได้ ดังนั้นสิทธิครอบครองจึงอยู่กับบุคคลอื่น เช่น เจ้าของกรรมสิทธิ์เอาทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นเช่า
3. ภาระจำยอม คือทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์โดยทำให้ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ อันหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตน หรือทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องงดเว้น การใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่น เรียกว่า “สามยทรัพย์” เช่นการที่เจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง มีสิทธิเดินผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่ง
4. สิทธิอาศัย หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ในโรงเรือนของผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือผลประโยชน์อื่นตอบแทน ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็โดยนิติกรรม และเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาท
5. สิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง สิทธิที่บุคคลหนึ่งได้เป็นเจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูก
บนดินหรือใต้ดินของผู้อื่น สิทธิเหนือพื้นดินจึงเป็นทรัพย์สินที่ยกเว้นหลักส่วนควบ สามารถโอน และตกทอดไปยังทายาทได้
6. สิทธิเก็บกิน หมายถึง สิทธิที่จะเข้าครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยจะเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาทได้ และผู้ทรงสิทธิเก็บเกินผู้ดูแลรักษาทรัพย์นั้นด้วย
7. ภารติดพันธ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประโยชน์หรือต้องยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น
8. ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิอันมีแต่ผู้
เดียวที่จะทำขึ้นทำซ้ำซึ่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมหรือส่วนสำคัญแห่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรและรวมถึงสิทธิในการนำออกเล่นแสดงต่อประชาชนด้วย ถ้าเป็นปาฐกถา หมายถึงสิทธิการนำออกกล่าวหรือ ถ้าวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นยังมิได้โฆษณา ก็หมายถึงสิทธินำออกโฆษณาด้วย
แต่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นทำซ้ำเปลี่ยนแปลง เล่น แสดงโฆษณา ฯลฯ ซึ่งวรรณกรรมและศิลปกรรมนั้นๆ
สิทธิในเครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายซึ่งใช้หรืออาจจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า บุคคลผู้ใดจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพื่อใช้เครื่องหมายสำหรับสินค้านั้นทั้งหมด ผู้ปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนแล้วย่อมมีความผิดทางอาญาและทางแพ่ง
2.2.2 สิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ (บุคคลสิทธิ)
สิทธิเรียกร้องหนี้ หมายถึงการที่บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าการกระทำหรือการงดเว้นนั้นเป็นความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลด้วยกันในเรื่องหนี้ แม้เป็นเพียงบุคคลสิทธิมิใช่เป็นอำนาจที่ใช้ต่อทรัพย์สินโดยตรงอย่างทรัพย์สิทธิก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องให้ผู้อื่นทำประโยชน์ ในทางทรัพย์สินให้แก่ตน จึงนับว่าสิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วยอย่างหนึ่ง
3. องค์ประกอบสิทธิ
สิทธิย่อมมีต่อบุคคลเดียว บางคนหรือทุกคนที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งสิทธิจึงมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. เจ้าของสิทธิหรือผู้ถือสิทธิจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
2. บุคคลซึ่งมีหน้าที่ ได้แก่ บุคคลซึ่งจะต้องรับผิดต่อสภาพบังคับ (Sanction) เว้น
แต่จะกระทำการบางประการ ทั้งนี้เพราะสิทธิและหน้าที่ย่อมเป็นของคู่กัน เมื่อมีเจ้าของสิทธิก็ต้องมีบุคคลผู้มีหน้าที่และจะเรียกว่าเป็นผู้ถือ “หน้าที่” ก็ได้ผู้ที่จะมีหน้าที่ย่อมจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเช่นเดียวกัน
3. เนื้อหาแห่งสิทธิ (Content of Right) ได้แก่ การกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเจ้าของสิทธิจะเรียกร้องเอาจากบุคคลผู้มี “หน้าที่” เนื้อหาแห่งสิทธินี้จะมีมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของสิทธิ
4. วัตถุแห่งสิทธิ (Objcet of Right) หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของสิทธิซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์สิทธิ หรือ บุคคลสิทธิก็ได้
4. การได้มาซึ่งสิทธิ การใช้สิทธิ การสงวนและคุ้มครอง การโอนสิทธิ และการระงับแห่งสิทธิ
4.1 การได้มาซึ่งสิทธิ
บุคคลย่อมจะได้สิทธิหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองตั้งแต่เริ่มสภาพ
บุคคล ซึ่งเป็นสิทธิเรื่องแรกที่ทุกคนจะได้พร้อมกับการเกิด
บุคคลอาจได้สิทธิโดยวิธีการต่างๆ คือ จากนิติกรรมและการได้มาทางอื่นนอกจากนิติกรรม ซึ่งได้แก่ การได้โดยนิติเหตุและได้มาโดยผลแห่งกฎหมาย
4.1.1 การได้สิทธิจากนิติกรรม
นิติกรรมเป็นการกระทำให้เกิดสิทธิโดยตั้งใจและชอบด้วยกฎหมาย มุ่งโดยตรงต่อการผูก
นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ดังนั้นนิติกรรม จึงก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิต่างๆขึ้น เช่น ก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับสิทธิ
นิติกรรมซึ่งก่อให้เกิดสิทธิ อาจแบ่งออก 2 ประเภท
1. นิติกรรมซึ่งกำให้เกิดสิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ตัวอย่างเช่น การแสดงเจตนา ทำการสมรส รับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม ยอมทำให้บุคคลมีสิทธิในครอบครัว
2. นิติกรรมซึ่งก่อให้เกิดสิทธิเกี่ยวกับ ทรัพย์ ส่วนใหญ่ ได้แก่ สัญญาอันเป็นนิติกรรมสองฝ่าย โดยบุคคลฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำคำเสนอ และอีกบุคคลฝ่ายหนึ่งทำคำสนองรับตกลงยินยอมร่วมกันอันที่จะก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การซื้อขาย การเช่าทรัพย์ เป็นต้น
4.1.2 การได้สิทธิจากทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การได้รับสิทธิโดยทางอื่นๆ นี้จะเป็นการได้มาโดยผลของกฎหมายทั้งสิน คือเป็นกรณีที่
กฎหมาย บัญญัติว่าเมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น ให้มีการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิมิใช่เรื่องที่คู่กรณีจะตกลงกันได้ล่วงหน้าเหมือนนิติกรรม เป็นต้นว่า
1. การได้สิทธิจากนิติเหตุ คือเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นเอง
หรือโดยบุคคลเป็นผู้กระทำก็ตามแล้วทำ ให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายการมีสิทธิจากนิติเหตุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1)นิติเหตุที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติ ได้แก่การเกิด การตาย และการบรรลุนิติภาวะ
การเกิดทำให้บุคคลได้สิทธิฐานะเป็นบุคคลและการตายของบุคคลหนึ่งทำให้ทายาทของบุคคลนั้นได้สิทธิ เช่นการรับมรดก ส่วนการบรรลุนิติภาวะทำให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิได้ด้วยตนเอง
2)นิติเหตุที่เกิดจากการกระทำของบุคคล เป็นการกระทำที่บุคคลกระทำไป โดยปราศจากเจตนามุ่งผลในทางกฎหมายแต่ผลของการกระทำก่อให้เกิดสิทธิขึ้น ได้แก่ จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ และละเมิด
2. การได้มาซึ่งสิทธิในผลแห่งกฎหมาย อาจจะได้สิทธิโดยกฎหมายเอกชนหรือการได้สิทธิโดยกฎหมายมหาชน ดังนี้
1)การได้สิทธิตามกำหมายเอกชน เช่น
(1)การได้กรรมสิทธิ์โดยหลักส่วนควบ ได้แก่ ส่วนควบโดยธรรมชาติ และส่วนควบโดยการปลูกสร้าง
(2)การได้สิทธิโดยอาศัยหลักการถือเอาสังหาริมทรัพย์ไม่มีเจ้า
ของ
(3)การได้สิทธิโดยหลักเรื่องการได้ทรัพย์สินปราศจาก ผู้ครอบครอง
(4)การได้สิทธิโดยสุจริตในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้เป็นพิเศษ
ได้แก่ การได้สิทธิมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ การได้สิทธิมาเพราะซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตและการได้โดยสิทธิโดยอายุความ เป็นต้น
2) การได้สิทธิตามกฎหมายมหาชน เช่น การได้สิทธิในการเลือกตั้ง การได้สิทธิรับสมัครเลือกในทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นไปถึงระดับชาติ เป็นต้น
4.2 การใช้สิทธิ
ผู้ทรงสิทธิย่อมจะใช้สิทธิที่กฎหมายรับรองได้โดยอิสระตามความพอใจของตนเองแต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตจำกัดของกฎหมายบางประการคือ
1. ต้องเคารพต่อกฎหมายและหลักแห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีอัน
ดีของประชาชน หมายความว่าการใช้สิทธิของตนนั้นต้องไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เช่น เราจะใช้สิทธิในการซื้อขายอาวุธสงครามหรือยาเสพติด ไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย เป็นต้น
2. ต้องใช้สิทธิในทางที่ไม่ก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น หมายความว่า การใช้
สิทธิใดๆ นั้นจะต้องเคารพต่อสิทธิของบุคคลอื่นด้วย ถ้าได้ใช้สิทธิในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็เป็นเรื่องละเมิดได้ เช่น โรงงานมีเสียงดังและส่งกลิ่นเหม็นก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ เพื่อนบ้านโดยทั่วไปหรือตอกเสาเข็มก่อสร้างทำให้ตึงข้างเคียงร้าว เป็นต้น
3. ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต ดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดีใน
การชำระหนี้ก็ดี ท่านว่าบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต เช่น ไม่ปลูกตึกแถวปิดทางเข้าออก หรือบังแสงสว่าง ปิดทางลมของคนอื่น
แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิของบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดเงื่อนไขของการใช้สิทธิ ของผู้เยาว์ คนไร้ความสารถ และคนเสมือนไร้ความสารถ ถึงแม้จะเป็นผู้ทรงสิทธิก็ตาม แต่ไม่สามารถใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ เพราะกฎหมายถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้หย่อน ความสามารถ ต้องให้บุคคลตามที่กฎหมายกำหนดทำการแทนบุคคลดังกล่าว
4.3 การสงวนและคุ้มครองสิทธิ
สิทธิต่างๆ เมื่อมีกฎหมายมารับรองไว้ กฎหมายก็จะบัญญัติการสงวนและการคุ้มครอง สามารถแยกพิจารณา เป็นกรณี คือ การสงวนสิทธิ และการคุ้มครองสิทธิ
1. การสงวนสิทธิ หมายถึง การป้องกันขัดขวางมิให้สิทธินั้นต้องระงับไปหรือ
เสื่อมสลายไป ดังเช่น การทำให้อายุความสะดุดลง การจดทะเบียนทรัพยสิทธิ เป็นต้น
2. การคุ้มครองสิทธิ คือการป้องกันมิให้บุคคลภายนอก เข้ามารบกวนสิทธิของ
ตนซึ่งอาจทำได้โดย
1)การคุ้มครองสิทธิด้วยตนเอง ถึงแม้จะมีกฎหมายที่รับรองและ
คุ้มครองสิทธิให้ แต่ในบางครั้งการที่จะปล่อยให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิแต่ประการเดียวก็อาจจะไม่ทันการบุคคลจึงควรที่จะมีอำนาจที่จะป้องกันสิทธิของเขาด้วยตนเอง โดยไม่มีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา เป็นต้นว่าการป้องกันการกระทำโดยจะเป็น การกระทำที่รอบด้วยกฎหมาย การทำลายทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือทำให้บุบสลาย เพื่อป้องกันภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะฉุกเฉิน ตามประมวลกฎหมายอาญา
2)การคุ้มครองสิทธิโดยรัฐ นอกจากการคุ้มครองป้องกันสิทธิโดย
ตนเองดังกล่าวแล้ว สิทธิบางประการเราอาจไม่สามารถคุ้มครองสิทธิได้ด้วยตนเองได้ รัฐจึงเข้ามาเป็นผู้คุ้มครองสิทธิให้ไม่ว่าจะเป็นรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) ฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)และฝ่ายตุลาการ(ศาล)และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลจะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการที่คุ้มครองสิทธิเป็นที่สุดและเด็ดขาด คือ ถ้าผู้เสียหายถูกละเมิดสิทธิก็สามารถที่จะนำคดีมาฟ้องร้องเพื่อขอความยุติธรรม หรือเป็นทำต่อศาลได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือขอให้ศาลชี้ขาดเพื่อสงวนและคุ้มครองสิทธิของเรา ซึ่งสามารถกระทำได้โดย
(1)การฟ้องคดีอาญา
(2)การฟ้องคดีแพ่ง
(3)การฟ้องคดีปกครอง เป็นต้น
4.4 การโอนสิทธิ
การโอนสิทธิ หมายถึง การเปลี่ยนการทรงสิทธิอย่างใดๆ อันมีอยู่จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง แต่เนื่องด้วยสิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคลอยู่ในเกณฑ์ยกเว้นที่มิอายโอนกันได้จึงคงมีการโอนแต่เฉพาะสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน การโอนสิทธินั้นกระทำได้โดยนิติกรรมรูปแบบต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นการจดทะเบียนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น การทำพินัยกรรม ฯลฯ เป็นต้น
4.5 การระงับแห่งสิทธิ
การระงับแห่งสิทธิ หมายถึง การสูญสิ้นไปของตัวสิทธิโดยที่สิทธินั้นไม่มีประโยชน์หรืออำนาจเหลืออยู่ อันบุคคลใดจะสามารถนำมาใช้ต่อไปได้อีก ต่างกับการสูญเสียสิทธิ โดยการโอนสิทธิ หรือการรับช่วงสิทธิ เพราะในกรณีเช่นนั้น สิทธิยังคงอยู่ เป็นแต่เพียงเปลี่ยนตัวผู้ทรงสิทธิเท่านั้น
การระงับแห่งสิทธิ ได้แก่ การขาดตัวผู้ทรงสิทธิ หมายความว่าผู้ทรงสิทธิตายไปสิทธิอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวก็ระงับไป หน้าที่และความผูกพันที่มีอยู่ก็ระงับลง สิทธิซึ่งมีโดยตรงเฉพาะเหนือหน้าที่นั้นก็ระงับไป หรือวัตถุแห่งสิทธิสิ้นไปสิทธินั้นก็ระงับไปด้วยหรือโดยมีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้สิทธินั้นระงับโดยอายุความ เช่นการเสียสิทธิเรียกร้องโดยอายุความ การเสียสิทธิในการรับมรดกโดยอายุความ เป็นต้น
5. สิทธิตามกฎหมาย
สิทธิตามกฎหมายนั้นแยกออกมาได้ 2 ลักษณะ คือ สิทธิตามกฎหมายมหาชนกับสิทธิตามกฎหมายเอกชน สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
5.1 สิทธิตามกฎหมายมหาชน
“สิทธิ” นั้นมีข้อที่ควรสังเกตว่า “สิทธิ” นั้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากฎหมายเอกชนเสมอไป แม้กฎหมายมหาชนก็เป็นที่มาแห่ง “สิทธิ” ได้ ในประเทศเยอรมันในชั้นเดิมก็มีการถกเถียงกันว่า “สิทธิ” จะเกิดจากกฎหมายได้หรือไม่ แต่ในศตวรรษที่ 19 ก็ได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า “สิทธิ” อาจเกิดจากกฎหมายมหาชนได้ ทั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะของเอกชนที่มีต่อรัฐซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนดังกล่าวนี้ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศาลปกครอง” ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากศาลยุติธรรมธรรมดา เพื่อวินิจฉัยคดีปกครอง กล่าวคือ เพื่อวินิจฉัยการกระทำเจ้าพนักงานในทางปกครองว่า ได้กระทำไปเกินขอบเขตของกฎหมาย หรือโดยใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือใช้ดุลพินิจผิดพลาด ฯลฯ ศาลปกครองนี้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
การรับรองสิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนหมายความว่า รัฐโดยกฎหมายก็ดี ย่อมผูกพันตนเอง เป็นการยอมผูกมัดของอำนาจสาธารณะเพื่อประโยชน์ของเอกชน ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า สิทธิตามกฎหมายมหาชนเป็นสิทธิของราษฎรที่มีต่อรัฐและอำนาจสาธารณะอื่น ๆ เช่น เทศบาล สิทธิดังกล่าวนี้รัฐและผู้ทรงอำนาจสาธารณะอื่นได้รับรองหรือให้แก่ราษฎร และพอจะแยกสิทธิตามกฎหมายมหาชนออกได้ ดังนี้
5.1.1 สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางปฏิเสธ
สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางปฏิเสธซึ่งได้แก่สิทธิที่จะป้องปัดและสิทธิในเสรีภาพที่มีต่อรัฐ ซึ่งโดยสิทธินี้ ราษฎรย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐและเจ้าพนักงานของรัฐละเว้นที่จะไม่กล้ำกรายสิทธินี้ สิทธิดังกล่าวนี้ได้แก่สิทธิตามรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน (Human Rights)
5.1.2 สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะบุคคลในทางที่จะดำเนินการ
สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางที่จะดำเนินการ ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนที่จะมีต่อรัฐ ดังเช่น สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่ต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภากำหนด ซึ่งเป็นสิทธิในทางการเมืองของรัฐ เป็นต้น
5.1.3 สิทธิที่จะเรียกร้องการปฏิบัติการบางประการจากรัฐ
สิทธิที่จะเรียกร้องการปฏิบัติการบางประการจากรัฐ ดังเช่น
1.สิทธิที่จะเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะขอให้คุ้มครองตนจากการ
กระทำของรัฐต่างประเทศ และจากการกระทำทางการปกครองของหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิชอบด้วยกฎหมายในการกระทำทางปกครอง
2. สิทธิที่จะเรียกร้องให้รัฐชดใช้ค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
3.สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย โดย
1)กำหนดให้การจับกุม คุมขัง การค้นตัวบุคคล หรือกระทำที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว จะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมาบัญญัติ
2)ห้ามทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
3)ห้ามจับโดยไม่มีหมายศาล เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้าที่หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
4. สิทธิจะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
5. สิทธิที่ได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น แต่มีข้อยกเว้น ว่าสิทธินี้อาจถูกจำกัดได้ตามกฎหมาย ถ้าปรากฏว่าการเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
6. สิทธิได้รับการคุ้มครองหรือชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้ได้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
5.1.4 สิทธิของประชาชนที่มีต่อรัฐ
สิทธิของประชาชนที่มีต่อรัฐในทางกลับกันรัฐก็มีสิทธิตามกฎหมายมหาชนต่อประชาชนภายในรัฐ ซึ่งรัฐมีสิทธิที่จะได้รับการเชื่อฟังถ้อยคำและความซื่อสัตย์จากประชาชน ซึ่งรัฐต้องออกเป็นกฎหมายก่อตั้งสิทธิ อาทิเช่น
1. รัฐมีสิทธิที่จะให้ประชาชนเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมาย
2. สิทธิที่จะเรียกร้องให้ประชาชนรับราชการ
3. สิทธิจะเรียกร้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีหน้าที่ไปเลือก
ตั้ง เป็นต้น
5.1.5 สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำการบริการ
สาธารณะต่อกันและกัน
สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะต่อกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐกับรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน อาทิเช่น เทศบาลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดกับองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
ข้อสังเกต สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะต่อกันและกัน ได้แก่
1. ในเรื่อง สิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนนี้จะต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นกรณีที่
กฎหมายให้สิทธิไว้หรือไม่ เพราะมีกรณีที่กฎหมายเป็นแต่กำหนดหน้าที่ให้แก่รัฐ โดยมิได้กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ประชาชนให้รัฐ ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เท่าที่จะทำได้ ซึ่งถ้ารัฐจะปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ย่อมเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในรัฐให้ปฏิบัติตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้ ในปัจจุบันนี้ได้มีความเห็น ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปว่า ในกรณีเป็นที่สงสัย คือ กฎหมายไม่ได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดไม่ให้ใช้สิทธิฟ้องร้อง ให้ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายมหาชน และเป็นเหตุให้ฟ้องร้องรัฐได้
2. สิทธิตามกฎหมายมหาชนก็เป็นเช่นเดียวกับสิทธิตามกฎหมายเอกชน กล่าวคือจะต้องมีวิถีทางบังคับให้เป็นไปตามสิทธินั้นๆ ได้ ในปัจจุบัน ถ้าเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ได้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา เช่นศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่า การที่หญิงที่ทำการสมรสกับชายต้องใช้นามสกุลของชายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในเรื่องชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย ดังนั้นกฎหมายที่กำหนดให้หญิงใช้นามสกุลชายจึงใช้บังคับไม่ได้ถ้าเป็นสิทธิตามกฎหมายปกครอง ก็ได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเพื่อวินิจฉัยคดีปกครองเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากศาลยุติธรรม จากศาลทหาร
5.2 สิทธิตามกฎหมายเอกชน
กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวในการที่เราจะเข้าใจสิทธิตามกฎหมายเอกชนได้ดี เราจำต้องแยกสิทธิออกไป สิทธิอาจแบ่งได้หลายวิธี ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงสิทธิตามผู้เป็นเจ้าของวัตถุแห่งสิทธิ ผู้เป็นเจ้าของวัตถุแห่งสิทธิ
การแบ่งประเภทของสิทธินี้เป็นการแยกออกไปตามวัตถุซึ่งสิทธินี้มุ่งถึง โดยอาจแยกอกเป็นสิทธิเกี่ยวกับบุคคล สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว และสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินดังจะได้อธิบายตามลำดับ
5.2.1 สิทธิเกี่ยวกับบุคคลหรือสิทธิเกี่ยวกับเอกชน
สิทธินี้เกี่ยวกับตัวบุคคลของเจ้าของสิทธิเอง สิทธินี้ยังอาจแบ่งออกได้เป็นสองประเภทกล่าวคือ
1. สิทธิแห่งบุคลิกภาพทั่วไป สิทธินี้เกิดจากความคิดเห็นที่ว่า จะต้องยอมรับว่าศักดิ์ศรีของมนุษย์เป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะพัฒนาบุคลิกภาพของเขาโดยไม่มีการกีดกั้น สิทธิดังกล่าวนี้คำพิพากษาของศาลต่างประเทศได้ยอมรับ นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติไว้ชัดเจนในประมวลกฎหมายแพ่งสวิส มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดได้รับประทุษร้ายต่อความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ขจัดการรบกวนนั้นได้
2. สิทธิแห่งบุคลิกภาพพิเศษ คือเจาะจงสิทธิเป็นรายสิทธิไป เช่น สิทธิของบุคคลที่จะใช้ชื่อของเขา สิทธิที่บุคคลมีเหนือชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ สิทธิในชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ สิทธิที่จะขัดขวางมิให้บุคคลมาดักฟังหรือบันทึกเสียงการสนทนาทางโทรศัพท์
5.2.2 สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว
สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว ซึ่งได้แก่ สิทธิเหนือความสัมพันธ์แห่งชีวิตที่กฎหมายกำหนดให้
เจ้าของสิทธิมีสิทธิเหนือบุคคลอื่นโดยคำนึงหน้าที่ทางศีลธรรมของเขา เช่น สิทธิระหว่างสามีภริยา สามีภริยาจำต้องอยู่กินร่วมกัน ฯลฯ ฉะนั้น ผู้ใดจะพาภริยาไปจากการอยู่กินร่วมกันไม่ได้ หรือสิทธิระหว่างบิดากับบุตรได้แก่ อำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ “บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาอำนาจปกครองนั้นอยู่แก่บิดา” สิทธินี้เป็นสิทธิเด็ดขาด(Absolute Right)
5.2.3 สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธินี้มุ่งถึงสิทธิที่เป็นทรัพย์สินให้ไว้เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของเจ้าของสิทธิ สิทธินี้ยังอาจแยกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ทรัพยสิทธิ สิทธิเหนือสิ่งที่ไม่มีรูปร่างสิทธิเรียกร้อง และสิทธิเหนือกองมรดก
1. ทรัพยสิทธิ ได้แก่สิทธิเหนือทรัพย์ซึ่งอาจแยกออกเป็น
1) สิทธิของการเป็นเจ้าของ เช่น กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิที่คล้ายคลึง
กรรมสิทธิ์ เช่น สิทธิเหนือพื้นดิน
2) สิทธิที่จะได้รับมา เช่น สิทธิของผู้ครอบครองสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ที่จะได้กรรมสิทธิ์ภายหลังที่ได้ครองมาเป็นระยะเวลาห้าปี หรือสิทธิของผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายที่จะได้รับกรรมสิทธิ์ในเมื่อได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ตำรวจนครบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้มีสิทธิที่จะรับทรัพย์สินมิได้เรียกเอาภายในหนึ่งปี หรือสิทธิของเจ้าของที่ดินที่จะตัดกิ่งไม้ของเพื่อนบ้านที่ยื่นออกมา และเมื่อได้แจ้งให้เพื่อนบ้านตัดแล้วไม่ย่อมตัด
2. สิทธิเหนือสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ ซึ่งได้แก่ของผู้ประพันธ์ที่จะพิมพ์บทประพันธ์ออกจำหน่าย หรือสิทธิของผู้แต่งบทละครที่จะนำละครออกแสดงหรือสิทธิในเครื่องหมายการค้า ฯลฯ
3. สิทธิเรียกร้อง ซึ่งได้แก่สิทธิของบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้มีอยู่เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้ ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ตน “ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่ง การชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมิได้” จะเห็นได้ว่า ในระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมมี “หนี้” (Obligation) และเจ้าหนี้ย่อมเรียกร้องให้ลูกหนี้เท่านั้นที่จะชำระหนี้ให้แก่ตน จะเรียกร้องจากบุคคลอื่นไม่ได้ ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า เจ้าหนี้มีฐานะอ่อนแอกว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์ เพราะเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกทรัพย์จากบุคคลทุกคนที่เอาทรัพย์ของเขาไป
4. สิทธิเหนือกองมรดก ซึ่งได้แก่สิทธิที่จะเข้าครอบครองกองมรดกตามกฎหมาย สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งหมดของบุคคลรวมกันเรียกว่า “กองทรัพย์สิน”
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
หยุด แสงอุทัย “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประกายพรึก,
พิมพ์ครั้งที่ 11,2535
สถาบันพระปกเกล้า “สารานุกรมการเมืองไทย” กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร,2547
การใช้ ฯลฯ เป็นต้น 在 การใช้ อาทิ เช่น เป็นต้น ได้แก่... - Agro-Industrial Technology ... 的推薦與評價
การใช้ อาทิ เช่น เป็นต้น ได้แก่ อย่างถูกต้องอย่างไรมาดูกันค่ะ ... ตัวอย่างประโยค "ฉันมีสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้าน เช่น สุนัข แมว เป็ด ไก่ ฯลฯ". ... <看更多>