รู้จัก Yum! Brands เจ้าของแบรนด์ KFC และ Pizza Hut /โดย ลงทุนแมน
เชื่อว่าคนไทยเกือบทุกคน ต้องคุ้นเคย และคุ้นชื่อ
ไก่ทอด KFC และ Pizza Hut กันอยู่แล้ว
แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เจ้าของแบรนด์ KFC และ Pizza Hut คือบริษัทเดียวกัน
บริษัทนั้นชื่อว่า “Yum! Brands”
เรื่องราวของ Yum! Brands น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนจะมาเป็น Yum! Brands
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ มาจาก PepsiCo
บริษัทเจ้าของน้ำอัดลมเป๊ปซี่ และขนมเลย์ ที่เราก็คุ้นเคยกันดี
ในช่วงปี 1977 ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดกำลังได้รับความนิยมในสหรัฐฯ
ทำให้ PepsiCo ที่มีธุรกิจหลักคือผลิตเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว
เกิดสนใจและอยากที่จะรุกเข้าหาธุรกิจร้านอาหาร
PepsiCo เริ่มไล่ซื้อแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังมาเป็นเจ้าของ
ซึ่งสามแบรนด์เด่นที่เข้ามาอยู่ในพอร์ตของ PepsiCo
คือ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell
แต่เมื่อทำธุรกิจนี้ไปได้ 20 ปี
PepsiCo ก็ตัดสินใจถอยออกมาจากวงการร้านอาหาร
เพราะอยากกลับไปโฟกัสธุรกิจหลักของตัวเองให้เต็มที่เหมือนเดิม
ทำให้ในปี 1997 ธุรกิจส่วนร้านอาหารของ PepsiCo
ถูกแยกออกมาเป็นบริษัทใหม่ มีชื่อว่า “Tricon Global Restaurants”
โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา
โดยที่มาของชื่อ Tricon ก็เพราะมี 3 แบรนด์หลักคือ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell
ทั้งสามแบรนด์ร้านฟาสต์ฟู้ดในเครือ Tricon Global Restaurants
ได้รับความนิยมมากขึ้น จนขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐฯ
ในปี 2002 Tricon Global Restaurants ก็เปลี่ยนชื่อเป็น “Yum! Brands”
และจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก
ภายใต้ชื่อบริษัท Yum! Brands, Inc.
หลังจากระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้ง KFC, Pizza Hut และ Taco Bell
ก็เริ่มขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสหรัฐฯ และออกไปยังต่างประเทศ
โดยเฉพาะ KFC ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ในปี 2013 Yum! Brands มีร้านอาหารทั่วโลกรวมกันถึง 40,000 สาขา
และในประเทศจีน ร้านอาหารเครือ Yum! Brands เติบโตอย่างรวดเร็ว
จนต้องแยกเป็นอีกบริษัทเพื่อดูแลตลาดจีนโดยเฉพาะ
ปี 2016 Yum China Holdings จดทะเบียนแยกออกมาจาก Yum! Brands
โดยมีอิสระในการบริหารแบรนด์ในเครือ Yum! และทำตลาดด้วยตัวเองในจีน
ณ สิ้นปี 2019 Yum! Brands มีร้านทั่วโลก 50,170 สาขา แบ่งเป็น
KFC 24,104 สาขา
Pizza Hut 18,703 สาขา
Taco Bell 7,363 สาขา
ที่น่าสนใจก็คือ Yum! Brands บริหารร้านด้วยตัวเองเพียง 2% เท่านั้น
ที่เหลืออีก 98% คือร้านในรูปแบบ “แฟรนไชส์”
โดยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการบริหารร้านอาหารในแฟรนไชส์
เราจะเรียกว่า “แฟรนไชซี”
ซึ่งแฟรนไชซีจะมีหน้าที่บริหารร้านอาหาร และเป็นเจ้าของร้านเพียงเท่านั้น
ไม่ได้เป็นเจ้าของแบรนด์ KFC, Pizza Hut หรือ Taco Bell แต่อย่างใด
โดย Yum! Brands จะเรียกเก็บส่วนแบ่งยอดขายประมาณ 5%
และค่าธรรมเนียมอื่นในการส่งเสริมแบรนด์จากแฟรนไชซี
ผลประกอบการ ปี 2019 ของ Yum! Brands, Inc.
รายได้ 176,585 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 40,826 ล้านบาท
โดยรายได้ทุก 100 บาท มาจาก
ยอดขายของสาขาที่ Yum! Brands บริหารเอง 28 บาท
รายได้จากส่วนแบ่งยอดขายจากแฟรนไชซี 48 บาท
ค่าธรรมเนียมอื่นที่เก็บจากแฟรนไชซี 24 บาท
ทีนี้ลองมาดูในประเทศไทย..
จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของ Yum! Brands
ณ สิ้นปี 2019 ในไทยมีร้าน KFC, Pizza Hut และ Taco Bell รวมทั้งหมด 858 สาขา
แบ่งเป็น KFC 717 สาขา, Pizza Hut 140 สาขา และ Taco Bell 1 สาขา
โดยรูปแบบการดำเนินงานในประเทศไทย
ทุกสาขาเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด
โดยมี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล และบริหารแบรนด์ ทั้ง KFC, Pizza Hut และ Taco Bell ในประเทศไทย
ส่วนหน้าที่การบริหารร้านค้าและการบริการภายในร้าน
เป็นหน้าที่ของแฟรนไชซี ที่ได้รับสิทธิ์บริหารร้านในประเทศไทย
ตัวอย่างเช่น แฟรนไชซีที่บริหารร้าน KFC ทั้ง 717 สาขา ในไทย มี 3 กลุ่มบริษัท คือ
บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (บริษัทเครือไทยเบฟ)
บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์กรุ๊ป จำกัด (บริษัทเครือเซ็นทรัล)
ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของเจ้าของแบรนด์ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell
ที่ต่อจากนี้ เราจะได้รู้ว่า ไม่ว่าจะเลือกกินอาหารร้านไหนจาก 3 ชื่อนี้
สุดท้ายแล้วเราก็กำลังเป็นลูกค้าของบริษัทเดียวกัน
บริษัทที่ชื่อว่า “Yum! Brands”..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-Yum! Brands 2019 Annual Report.
-https://www.yum.com
-https://ir.yumchina.com/
-https://thestandard.co/who-owns-kfc-in-thailand/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
yum china holdings, inc 在 彭博商業周刊 / 中文版 Facebook 的最佳貼文
【即時頭條】星巴克欲借雀巢增加兩倍中國業務收入
星巴克(Starbucks)正在制定一項雄心勃勃的、與肯德基(KFC)競爭的計劃,成為中國增長最快的外資餐飲連鎖公司。這家公司每年將開設600家新店,到2022年,中國業務的收入將增長超過兩倍。
星巴克行政總裁約翰遜(Kevin Johnson)5月15日在上海接受採訪時表示,由於中國市場需求量巨大,星巴克可能會以更快的速度開設門市,但這家咖啡巨頭同時也將限制擴張步伐,以保證門市質量。到2022年,星巴克在中國內地的門市數量將達到6000家,此前的目標是到2021年達到5000家。
「這是我們加速增長的理想時機,星巴克在中國有很多機會,」約翰遜在於上海舉行的投資者日活動前夕表示。有60名股東參加了星巴克在美國以外地區首次舉辦的這次投資者日活動。
為應對在美國和其他地區銷售增長乏力的局面,星巴克越來越依賴中國業務的爆炸式增長。在中國,它沒有規模相當的競爭對手。5月早些時候,星巴克與雀巢公司(Nestle SA)達成了一項總額71.5億美元的交易,從而為這家咖啡巨頭實現在中國加速擴張的目標提供了資金。中國有望在10年內成為星巴克的最大市場。
這家總部設在西雅圖的公司還預計,到截至2022年底的財政年度,其中國業務的營業利潤將增加一倍多。彭博社彙總的公司資料顯示,2017財年,星巴克大約32億美元的收入來自中國和亞太市場,約佔總收入的15%。
目前,星巴克在中國設有3300家門市,而在美國約有1.2萬家,包括授權門市。於2016年從百勝餐飲集團(Yum! Brands Inc.)分拆而出的百勝餐飲中國(Yum China Holdings Inc.)表示,截至3月底,包括肯德基和必勝客(Pizza Hut)餐廳在內,該公司在中國擁有8112家門市。
星巴克在中國這個世界第二大經濟體大力擴張之際,正值其美國業務面臨來自新興的區域型咖啡公司的激烈競爭,以及快餐業競爭對手大力打折促銷的局面。消費者也在更多地通過在家上網消費、而非光顧實體店的電子商務方式購買商品。在咖啡文化還不成熟但電子商務更為發達的中國市場,星巴克咖啡店已在高階的休閒聚會場所取得了優勢地位。
約翰遜說,儘管美國業務的同店銷售額低於預期,但美國新開門市的強勁表現意味著,如果這種勢頭保持下去,美國業務的增幅仍有望「處於公司預期當中的7%至9%範圍之內。」
星巴克與雀巢公司達成的協議,將使後者可以營銷星巴克從咖啡豆到膠囊咖啡的各類產品,也將這個西雅圖咖啡品牌帶入了中國的一個全新市場。總部位於瑞士的雀巢現在可以在中國的超市、餐廳和餐飲經營場所銷售星巴克品牌的袋裝咖啡產品。這是星巴克以前在中國沒有做過的事情。
藉助雀巢與分銷商之間的業務網絡,星巴克的產品可以進入中國的150萬家營業點,「極大地增強了我們將這些咖啡產品推向市場的能力,」約翰遜說。他表示,將這些產品引入中國市場是星巴克在此項交易結束後不久就開始關注的重點之一。
除了星巴克的旗艦品牌,與雀巢公司的協議還包括營銷Seattle’s Best Coffee、Starbucks VIA、Torrefazione Italia和Teavana茶等品牌產品。約翰遜說,雀巢和星巴克還準備合作,通過研發和扶持種植戶,使咖啡成為可持續的農產品。
在即飲咖啡市場,星巴克仍與雀巢競爭。除了瓶裝的星冰樂(Frappucinos)和冷萃咖啡,星巴克還將於6月增加杯裝的冷藏咖啡產品。約翰遜說,公司在即飲咖啡產品方面擁有全套的新品儲備。在中國,星巴克與康師傅合作銷售這類即飲咖啡產品。
據歐睿資訊諮詢(Euromonitor International)的資料,目前雀巢在規模達81億元人民幣(約合13億美元)的即飲咖啡市場佔據了71%的份額。星巴克的佔有率為3.1%。
星巴克中國區CEO王靜瑛(Belinda Wong)說,這家咖啡巨頭還將在幾個月內宣佈一項新的在中國市場通過移動平台點單和遞送的計劃。目前,星巴克中國業務60%的交易都是通過移動支付進行的。(彭博新聞社)
#星巴克 #KFC #雀巢 #必勝客 #百勝餐飲集團